เมนู

5. อุบลวรรณาสูตร



ว่าด้วยมารรบกวนอุบลวรรณาภิกษุณี



[534] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น เวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร
ได้ยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ต้นหนึ่ง.
[535] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีบังเกิด
ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ
จึงเข้าไปหาอุบลวรรณาภิกษุณีถึงที่ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบลวรรณาภิกษุณี
ด้วยคาถาว่า
ดูก่อนภิกษุณี ท่านคนเดียว เข้ามา
ยังต้นสาลพฤกษ์ ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง
ตลอดยอด แล้วยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์
ฉวีวรรณของท่านไม่มีที่สอง คนทั้ง
หลายก็จะมาในที่นี้เช่นท่าน ท่านกลัวความ
เป็นพาลของพวกนักเลงหรือ.

[536] ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอ
กล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.
ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่
จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้
เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.
ครั้นอุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าว
กะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

แม้นักเลงตั้งแสนมาในที่นี้ ก็ตาม
เถิด เราไม่สะเทือนขน ไม่สะดุ้ง ดูก่อน
มาร ถึงเราคนเดียว ก็ไม่กลัวท่าน. เรา
นี้จะหายตัวหรือเข้าท้องของท่าน แม้จะ
ยืนอยู่ ณ ระหว่างดวงตาบนดั้งจมูก ท่าน
จักไม่เห็นเรา.
เราเป็นผู้ชำนาญในจิต อิทธิบาทเรา
เจริญดีแล้ว เราพ้นแล้วจากเครื่องผูกทุก
ชนิด เราไม่กลัวท่านดอก ท่านผู้มีอายุ.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อุบลวรรณาภิกษุณีรู้จักเรา
ดังได้อัน จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาอุบลวรรณาสูตร



ในอุบลวรรณาสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุสุปฺผิตคฺคํ ความว่า ต้นสาละดอกบานสะพรั่งตั้งแต่ยอด.
ด้วยคำว่า น จตฺถิ เต ทุติยา วณฺณธาตุ มารกล่าวว่าวรรณธาตุที่ 2 อัน
เสมือนกับวรรณธาตุของท่าน ย่อมไม่มี คือไม่มีภิกษุณีอื่นเสมือนกับท่าน. บทว่า
อิธาคตา ตามิสิกา ภเวยฺยุํ ความว่า ท่านมาในที่นี้ย่อมไม่ได้ความ
สนิทสนมหรือความรักอะไร ฉันใด แม้ชนเหล่านั้นก็เป็นเสมือนท่านฉันนั้น
เหมือนกัน. บทว่า ปขุมนฺตริกายํ ความว่า แม้เราจะยืนอยู่บนดั้งจมูก
ระหว่างนัยน์ตาทั้งสอง ท่านก็ไม่เห็น. บทว่า วสีภูตมฺหิ แปลว่า ย่อมเป็น
ผู้ชำนาญ.
จบอรรถกถาอุบลวรรณสูตรที่ 5