เมนู

ภิกขุนีสังยุต



อรรถกถาอาฬวิกาสูตร



ในภิกขุนีสังยุตอาฬวิกาสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาฬวิกา ความว่า ผู้เกิดในเมืองอาฬวี และออกบวชจากเมือง
อาฬวีนั่นแล. บทว่า อนฺธวนํ ความว่า ป่าที่นับว่าอันธวัน ตั้งแต่เวลาที่
พวกโจร 500 คน ควักนัยน์ตาทั้งสองของพระอริยบุคคล (อนาคามี) ผู้กล่าว
ธรรม นามว่ายโสธร ผู้รวบรวมทรัพย์มาเพื่อสร้างพระเจดีย์พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ตนเองก็ตาแตกอยู่ในที่นั้นนั่นเอง. เขาว่าป่านั้น
เป็นป่าสงวนในเนื้อที่ประมาณคาวุตหนึ่ง ทางด้านทิศทักษิณกรุงสาวัตถี ผู้ที่
ต้องการวิเวกและภิกษุณีทั้งหลายก็พากันไปในป่านั้น. เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุณี
อาฬวิกานี้ ก็มีความต้องการวิเวก จึงเข้าไปทางป่านั้น. บทว่า นิสฺสรณํ
ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า ปญฺญาย ได้แก่ด้วยปัจจเวกขณญาณ. บทว่า
น ตฺวํ ชานาสิ ตํ ปทํ ความว่า ท่านไม่รู้ทางพระนิพพาน หรือทางสวรรค์
อันไปสู่พระนิพพาน. บทว่า สตฺติสูลูปมา ได้แก่ เสมือนกับหอกและหลาว
เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องทิ่มแทง. บทว่า ขนฺธาสํ อธิกุฏฺฐานา ความว่า
กองกามเหล่านั้นเป็นเหมือนฝีร้าย.
จบอรรถกถาอาฬวิกาสูตรที่ 1

2. โสมาสูตร



ว่าด้วยมารรบกวนโสมาภิกษุณี



[525] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น เวลาเช้า โสมาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต
กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้นถึงป่า
อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.
[526] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้โสมาภิกษุณีบังเกิดความกลัว
ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า
ไปหาโสมาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะโสมาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
สตรีมีปัญญาเพียงสองนิ้ว ไม่อาจถึง
ฐานะอันจะพึงอดทนได้ด้วยยาก ซึ่งท่าน
ผู้แสวงทั้งหลายจะพึงถึงได้.

[527] ลำดับนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว
คาถาจะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์
ทันใดนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะ
ให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้
เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.
ครั้นโสมาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า