เมนู

อรรถกถาสัตตวัสสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสัตตวัสสสูตรที่ 4 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สตฺต วสฺสานิ ได้แก่ ก่อนตรัสรู้ 6 ปี หลังตรัสรู้ 1 ปี.
บทว่า โอตาราเปกฺโข ได้แก่ มารจ้องอยู่นาน อย่างนี้ว่า ถ้าเราเห็นกาย
ทวารเป็นต้น บางทวารของพระสมณโคดมไม่เหมาะสม เราก็จะท้วงเธอ ดังนี้.
บทว่า อลภมาโน ได้แก่ ไม่เห็นความผิดพลาดแม้เพียงละอองธุลี. ด้วย
เหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวว่า มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทุกฝีก้าวอายุ 7 ปี ก็ไม่พบความผิดพลาดของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสิริ. บทว่า
อุปสงฺกมิ ความว่า มารเข้าไปหาด้วยคิดว่า วันนี้ เราจักมาอภิวาทพระสมณ-
โคดม. ด้วยบทว่า ฌายสิ มารกล่าวว่า ท่านนั่งซบเซาอยู่. บทว่า วิตฺตํ
นุ ชินฺโน
ความว่า ท่านเสื่อมเสียทรัพย์ไปร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง. บทว่า
อาคุนฺนุ คามสฺมึ ความว่า ได้กระทำกรรมชั่วไว้นับไม่ถ้วนภายในบ้าน
ท่านไม่อาจมองหน้าของคนอื่น ๆ ได้แต่นั่งซบเซา เที่ยวอยู่แต่ในป่าหรือ.
บทว่า สกฺขึ ได้แก่ ความเป็นมิตร.
บทว่า ปลิขาย แปลว่า ขุดแล้ว. บทว่า ภวโลภชปฺปํ ได้แก่
ตัณหา กล่าวคือความอยากได้ภพ. บทว่า อนาสโว ฌายามิ ความว่า เรา
ไม่มีตัณหา เพ่งอยู่ด้วยฌานทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมารว่า
ปมัตตพันธุ จริงอยู่ มารนั้นเป็นพวกพ้องของตนบางพวกที่มัวเมาอยู่ในโลก.
บทว่า สเจ มคฺคํ อนุพุทฺธํ ความว่า ผิว่า ท่านตรัสรู้ตามมรรคไซร้.
บทว่า อเปหิ ได้แก่ จงไปเสีย. บทว่า อมจฺจุเธยฺยํ ได้แก่ พระนิพพาน
อันไม่เป็นโอกาสแห่งมัจจุราช. บทว่า ปารคามิโน ความว่า ทั้งคนที่ถึง
ฝั่งแล้ว ทั้งคนที่ประสงค์จะไปสู่ฝั่ง ก็ชื่อว่า ปารคามิโน.

บทว่า วิสกายิกานิ ได้แก่ อันเป็นไปในส่วนลึกของมาร. บทว่า
วิเสวิตานิ ได้แก่ อันบุคคลเสพผิด คือมีเหตุอันกลับกันเสีย เป็นต้นว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อายุของเหล่ามนุษย์น้อย วันและคืนย่อมล่วง
ไป ๆ มารกลับกล่าวเสียว่า อายุของเหล่ามนุษย์ยืนยาว วันและคืนไม่ล่วงไป ๆ.
บทว่า วิปฺผนฺทิตานิ ได้แก่ แสดงเพศเป็นพระยาช้างและเพศพระยางู เป็นต้น
ในกาลนั้น. บทว่า นิพฺเพชนียา ได้แก่ ควรเล่าเรียน.
ในคำว่า อนุปริยคา เป็นต้น ท่านทำเป็นคำอดีต ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ก็ควรทราบความ โดยกำหนดแน่นอน [ปัจจุบัน]. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า
กาเห็นก้อนหินสีเหมือนมันข้น จึงเข้าไปใกล้ก้อนหินนั้น ด้วยคิดว่า พวกเรา
พบของอ่อนเข้าแล้ว คงจะมีรสอร่อย ครั้นแล้ว กานั้นก็ไม่ได้รสอร่อยที่ก้อน-
หินนั้น จึงหลีกจากที่นั้น คือต้องหลีกไปเสียจากก้อนหินนั้น ฉันใด แม้พวก
ข้าพระเจ้า กระทบพระโคดมแล้ว ก็เหมือนกานั้นกระทบก้อนหิน เมื่อไม่ได้
ความยินดีหรือความชื่นชม ก็เบื่อหน่ายพระโคดม หลีกไปเสีย ฉันนั้น.
อักษรในคำว่า อภาสิตฺวา นี้ เป็นเพียงนิบาต ใจความว่ากล่าวแล้ว. ปาฐะว่า
ภาสิตฺวา ก็มี.
จบอรรถกถาสัตตวัสสสูตรที่ 4

5. มารธีตุสูตร



ว่าด้วยธิดามารมาขอบำเรอพระพุทธเจ้า



[505] ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง 3 คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา
พากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า
ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจ
ด้วยเหตุอะไร หรือเศร้าโศกถึงผู้ชาย
คนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วย
บ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคล
ผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้น ชายนั้นจักตกอยู่
ในอำนาจของคุณพ่อ.

[506] พระยามารกล่าวว่า
ชายนั้น เป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไป
ดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้อันใคร ๆ พึงนำ
มาด้วยราคะได้ง่าย ๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไป
แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก.

[507] ครั้งนั้นแล มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา
จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้น แล้วกราบทูลพระผู้มี
พระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักขอบำเรอพระบาท
ของพระองค์.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงใส่พระทัยถึงคำของนางมารธิดา
เหล่านั้น เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม