เมนู

อรรถกถาโคธิกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในโคธิกสูตรที่ 3 ต่อไป :-
บทว่า อิสิคิลิปสฺเส ได้แก่ ข้างภูเขาชื่อ อิสิคิลิ. บทว่า กาฬสิลายํ
ได้แก่ ก้อนหินสีดำ. บทว่า สามายิกํ เจโตวิมุตฺติ ความว่า สมาบัติฝ่าย
โกลิกะ ชื่อว่า สามายิกาเจโตวิมุตติ เพราะจิตหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก
ในขณะที่จิตแนวแน่แนบแน่น และน้อมไปในอารมณ์. บทว่า ผุสิ ได้แก่
กลับได้. ในบทว่า ปริหายิ ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านโคธิกะ จึงเสื่อมถึง
6 ครั้ง. ตอบว่า เพราะท่านมีอาพาธ. ได้ยินว่า พระเถระมีอาพาธเรื้อรัง
[ประจำตัว] โดยเป็นโรคลมน้ำดีและเสมหะ. ด้วยอาพาธนั้น พระเถระจึงไม่
อาจบำเพ็ญอุปการธรรมให้เป็นสัปปายะของสมาธิได้ จึงเสื่อมจากสมาบัติที่แน่ว
แน่แนบแน่นไปเสีย.
บทว่า ยนฺนูนาหํ สตฺถํ อาหเรยฺยํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระ
คิดจะฆ่าตัวตาย. ผู้มีฌานเสื่อมการทำกาละ. [ตาย] คติไม่แน่นอน. ผู้มีฌาน
ไม่เสื่อม คติแน่นอนคือย่อมบังเกิดในพรหมโลก เพราะฉะนั้น พระเถระจึง
ประสงค์จะฆ่าตัวตายเสีย. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า สมณะนี้
ประสงค์จะฆ่าตัวตาย ก็ขึ้นชื่อว่า การฆ่าตัวตายนี้ ย่อมมีแก่ผู้ไม่เยื่อใยในร่างกาย
และชีวิต สมณะนั้นพิจารณามูลกัมมัฏฐานแล้ว ย่อมสามารถยึดแม้พระอรหัต
ไว้ได้ ถึงเราห้ามปราม เธอคงไม่ละเว้น ต่อพระศาสดาทรงห้ามปราม จึงจะ
เว้น ดังนี้ จึงทำเหมือนหวังดีต่อพระเถระ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ชลํ แปลว่า รุ่งเรืองอยู่. บทว่า ปาเท วนฺทามิ จกฺขุม
ความว่า ท่านผู้มีจักษุด้วยจักษุทั้ง 5 ข้าพระองค์ขอไหว้พระบาทของพระองค์.

บทว่า ชุตินฺธร ได้แก่ ผู้ทรงอานุภาพ. บทว่า อปฺปตฺตมานโส ได้แก่
ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต. บทว่า เสกฺโข ได้แก่ผู้กำลังศึกษาศีลเป็นต้นชื่อว่า
ผู้ยังมีกิจที่จะต้องทำ. บทว่า ชเน สุตา ได้แก่ ผู้ปรากฏในหมู่ชน. บทว่า
สตฺถํ อาหริตํ โหติ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เราจะมีประโยชน์
อะไรด้วยชีวิตนี้ จึงนอนหงายเอามีดตัดหลอดคอ. ทุกขเวทนาทั้งหลายก็เกิก
ขึ้น. พระเถระข่มเวทนาแล้วกำหนดเวทนานั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ตั้งสติมั่น
พิจารณามูลกัมมัฏฐานก็บรรลุพระอรหัต เป็นสมสีสี ปรินิพพานแล้ว. ก็ชื่อ
ว่าสมสีสีมี 3 ประเภท คืออิริยาปถสมสีสี โรคสมสีสี ชีวิตสมสีสี.
บรรดาพระอรหันต์ 3 ประเภทนั้น พระอริยะรูปใดอธิษฐานอิริยาบถ
ทั้งหลายมียืนเป็นต้น อิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งวิปัสสนาไว้มั่นด้วยหมาย
จะไม่เปลี่ยนอิริยาบถนี้แล้ว บรรลุพระอรหัต เมื่อเป็นดังนั้น พระอริยะรูปนั้น
บรรลุพระอรหัตและไม่เปลี่ยนอิริยาบถพร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้
ชื่อว่าอิริยาปถสมสีสี. อนึ่ง พระอริยะรูปใดเมื่อบรรดาโรคทั้งหลายมีโรคตาเป็น
ต้น อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ตั้งวิปัสสนาไว้มั่นว่า ถึงไม่หายจากโรคนี้ ก็จัก
บรรลุพระอรหัต เมื่อเป็นดังนั้น พระอริยะรูปนั้นบรรลุพระหัต และหายโรค
พร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้ชื่อว่า โรคสมสีสี. แต่อาจารย์บางพวก
บัญญัติพระอรหันต์นั้นเป็นสมสีสีในข้อนี้ โดยปรินิพพาน ในเพราะอิริยาบถ
นั้นนั่นแหละ และในเพราะโรคนั้นนั่นแหละ. อนึ่ง พระอริยรูปใด สิ้น
อาสวะและสิ้นชีพ พร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้ ชื่อว่าชีวิตสมสีสี
สมจริงดังที่ที่ในกล่าวไว้ว่า บุคคลใดสิ้นอาสวะและสิ้นชีพไม่ก่อนไม่หลัง บุคคล
นี้ เรียกว่า สมสีสี.
ก็ในคำว่า สมสีสี นี้ สีสะมี 2 คือ ปวัตตสีสะและกิเลสสีสะ. บรรดา
สีสะทั้ง 2 นั้น ชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปวัตตสีสะ อวิชชาชื่อว่า กิเลสสีสะ. บรรดา

ชีวิตินทรีย์และอวิชชานั้น จุติจิตย่อมทำชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป มรรคจิต ทำ
อวิชชาทั้งหลายให้สิ้นไป. จิตสองดวงย่อมไม่เกิดพร้อมคราวเดียวกัน . แต่ผล
จิตเกิดในลำดับมรรคจิต ภวังคจิตเกิดในลำดับผลจิต ออกจากภวังคจิต ปัจจ-
เวกขณจิตก็เกิด. ปัจจเวกขณจิตนั้นบริบูรณ์บ้างไม่บริบูรณ์บ้าง. จริงอยู่แม้
เอาดาบอันคมกริบตัดศีรษะ ปัจจเวกขณจิตย่อมเกิดขึ้น 1 วาระ หรือ 2 วาระ
โดยแท้ แต่เพราะจิตทั้งหลายเป็นไปเร็ว การสิ้นอาสวะและการสิ้นชีพจึงปรากฏ
เหมือนมีในขณะเดียวกันนั่นเทียว.
บทว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺภุยฺห ได้แก่เพิกถอนตัณหาพร้อมทั้งมูล
โดยมูลคืออวิชชาเสียด้วยพระอรหัตมรรค. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสปรินิพพาน.
บทว่า วิวตฺตกฺขนฺธํ ได้แก่ พลิกตัว. บทว่า เสยฺยมานํ ได้แก่
นอนหงาย. ก็พระเถระนอนหงายก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ศีรษะของท่านก็เปลี่ยน
ไปอยู่ข้างขวา เพราะนอนคุ้นแต่ข้างขวา. บทว่า ธุมายิตตฺตํ ได้แก่ ภาวะที่
เป็นควัน . จริงอยู่ ขณะนั้น เหมือนฝนควันและฝนมืดปรากฏขึ้นมา. บทว่า
วิญฺญาณํ สมนฺเวสติ ได้แก่ มารแสวงหาปฏิสนธิจิต. บทว่า อปฺปติฏฺฐิเตน
ได้แก่มีปฏิสนธิวิญญา มิได้ตั้งอยู่แล้ว อธิบายว่ามีเหตุแห่งปฏิสนธิวิญญาณ
ไม่ตั้งอยู่แล้ว. บทว่า เวฬุวปณฺฑุ วีณํ ได้แก่ พิณเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก
คือพิณใหญ่สีเหมือนทอง. บทว่า อาทาย ได้แก่หนีบรักแร้. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า มารคิดว่า เราไม่รู้ที่เกิดของพระโคธิกเถระ ต้องถามพระสมณโคดม
จึงจะหมดสงสัย แล้วแปลงเพศเป็นเด็กเล็กเข้าไปเฝ้า. บทว่า นาธิคจฺฉามิ
ได้แก่ไม่เห็น. บทว่า โสลปเรตสฺส ได้แก่ถูกความโศกกระทบแล้ว. บทว่า
อภสฺสถ ได้แก่ ตกไปที่หลังเท้า.
จบอรรถกถาโคธิกสูตรที่ 3

4. สัตตวัสสสูตร



มารหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าสิ้น 7 ปี



[496] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ริ่มฝั่งแม่
น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา.
ก็สมัยนั้นแล มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า คอยมุ่งหาโอกาส
สิ้น 7 ปี ก็ยังไม่ได้โอกาส.
[497] ภายหลังมารผู้มีบาป จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ครันแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
ท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้
มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจาก
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลัง
ปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำความชั่วอะไร ๆ
ไว้ในบ้านหรือ เหตุไรท่านจึงไม่ทำมิตร
ภาพลับชนทั้งปวงเล่า หรือว่าท่านทำมิตร-
ภาพกับใคร ๆ ไม่สำเร็จ.

[498] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนมารผู้เป็นเผ่าของบุคคลผู้
ประมาทแล้ว เราขุดรากของความเศร้า
โศกทั้งหมดแล้ว ไม่มีความชั่ว ไม่เศร้า
โศก เพ่งอยู่ เราชนะความติดแน่น กล่าว
คือความโลภในภพทั้งหมด เป็นผู้ไม่มี
อาสวะ เพ่งอยู่.