เมนู

[955] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ
เมื่อจะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึ้งได้ตรัส
พระคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ขอความโกรธ จงอยู่ในอำนาจ
ของท่านทั้งหลาย ขอความเสื่อมคลายใน
มิตรธรรมอย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ ควร
ติเตียน และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย
ก็ความโกรธ เปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยี
คนลามก.


อรรถกถาอัจจยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัจจยสูตรที่ 4 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺปโยเชสุํ แปลว่า ทะเลาะกัน. บทว่า อจฺจสรา ได้แก่
ล่วงเกิน. อธิบายว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวคำล่วงเกินภิกษุรูปหนึ่ง. บทว่า
ยถาธมฺมํ น ปฏิคฺคณฺหาติ ได้แก่ ไม่ยกโทษ. บทว่า โกโธ โว
วสมายาตุ
ท่านแสดงว่า ความโกรธจงมาสู่อำนาจของพวกท่าน พวกท่าน
อย่าไปสู่อำนาจของความโกรธ. คำว่า หิ ในบทนี้ว่า มา จ มิตฺเต หิ โว
ชรา
เป็นเพียงนิบาต. ความเสื่อมในมิตรธรรม อย่าเกิดแก่พวกท่าน. อีก
อย่างหนึ่ง ตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ความเสื่อม
ในมิตรธรรมอย่าเกิดแล้ว คือว่าความเป็นโดยประการอื่นจากความเป็นมิตรจง

อย่ามี. บทว่า อครหิยํ มา ครหิตฺถ ความว่า อย่าติเตียนผู้ไม่ควรติเตียน
คือบุคคลผู้เป็นขีณาสพ.
จบอรรถกถาอัจจยสูตรที่ 4

5. อักโกธสูตร



ว่าด้วยความไม่โกรธ



[956] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
[957] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะทรงยังเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ความโกรธ อย่าได้ครอบงำท่าน
ทั้งหลาย และท่านทั้งหลายอยู่ได้โกรธ
ตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธและ
ความไม่เบียดเบียน ย่อมมีในท่านผู้ประ-
เสริฐทุกเมื่อ ก็ความโกรธเปรียบปานดัง
ภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก ฉะนี้แล.

จบอักโกธสูตรที่ 5
จบสักกปัญจกะ