เมนู

เหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกเทียว
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อม
บุคคลเหล่าใด แม้ข้าพระองค์ก็ขอ
นอบน้อมบุคคลเหล่านั้น.

[942] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็น
ประมุขของเทวดาทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้
แล้ว ทรงน้อมนมัสการพระภิกษุสงฆ์แล้ว
เสด็จขึ้นรถ ฉะนี้แล.

จบตติยสักกนมัสสนสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 2


อรรถกถาตติยสักกนมัสสนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในตติยสักกนมัสสนสูตรที่ 10 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เพราะเหตุไร มาตลิสังคาหกเทพบุตร
นี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้บ่อย ๆ. นัยว่าท้าวสักกะเทวราชมีพระสุรเสียงไพเราะใน
เวลาดำรัสช่องพระทนต์สนิท เปล่งพระสุรเสียงดุจเสียงกระดิ่งทอง. มาตลิสัง-
คาหกเทพบุตรพูดว่า เราจักได้ฟังพระสุรเสียงนั้นบ่อยๆ. บทว่า ปูติเทหสยา
ความว่า ชื่อว่า นอนทับกายเน่าเพราะนอนทับบนร่างกายของมารดาที่เน่า หรือ
สรีระของตนเอง. บทว่า นิมฺมุคฺคา กุณปเสฺมเต คือคนเหล่านี้จมอยู่ใน
ซากกล่าวคือท้องมารดาตลอด 10 เดือน. บทว่า เอตํ เนสํ ปิหยามิ ได้แก่
เราชอบใจมารยาทของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น. บทว่า น เตลํ โกฏฺเฐ

โอเปนฺติ ความว่า บุคคลจะไม่เก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางคือ
ข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไม่มี. บทว่า น กุมฺภา ได้แก่ ไม่เก็บไว้ใน
หม้อ. บทว่า น กโฬปิยํ ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในกระบุง. บทว่า ปรนิฏฺฐิตเมสนา
ได้แก่ เสาะแสวงหาของที่สุกแล้วในเรื่องนั้น ๆ ที่สำเร็จเพื่อคนเหล่าอื่นด้วย
ภิกขาจารวัตร. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการแสวงหาอย่างนี้นั้น. บทว่า
สุพฺพตา ได้แก่ สมาทานวัตรงามดีแล้ว ตลอด 10 ปีบ้าง 60 ปีบ้าง. บทว่า
สุมนฺตนฺติโน คือมีปกติกล่าวคำสุภาษิตตอย่างนี้ว่า เราจะสาธยายยธรรม จัก-
ปฏิบัติธุดงค์ จักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ . บทว่า ตุณฺหีภูตา สมญฺจรา
ความว่า แม้กล่าวธรรม ก็ยังกังวานอยู่เสมอตลอดทั้ง 3 ยามเหมือนเสียงฟ้าร้อง.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่มีคำที่ไร้ประโยชน์. บทว่า ปุถุมจฺจา จ
ได้แก่ สัตว์เป็นอันมากผิดใจกันและกัน . บทว่า อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตา
ได้แก่ ดับเสียได้ในอาชญาที่ถือเอาแล้ว เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น คือสละอาชญา
เสียแล้ว. บทว่า สาทาเนสุ อนาทานา ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ
ถือมั่น ไม่มีความถือมั่นเพราะไม่ถือมั่น แม้ส่วนหนึ่งของกำเนิดภพเป็นต้น.
จบอรรถกถาสักกนมัสสนสูตรที่ 10
จบ ทุติยวรรคที่ 2


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมเทวสูตร 2. ทุติยเทวสูตร 3. ตติยเทวสูตร 4. ทฬิททสูตร
5. รามเณยยกสูตร 6. ยชมานสูตร 7. วันทนสูตร 8. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
9. ทุติยสักกนมัสสนสูตร 10. ตติยสักกนมัสสนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.