เมนู

อรรถกถารามเณยยกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในรามเณยยกสูตรที่ 5 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อารามเจตฺยา ได้แก่ เจดีย์ในสวน. บทว่า วนเจตฺยา
ได้แก่ เจดีย์ที่ภูเขาและป่า. แม้ในบททั้งสองนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า เจดีย์
เพราะอรรถว่า ทำให้เกิดความเคารพ. บทว่า มนุสฺสรามเณยฺยสฺส คือ
ความเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ของมนุษย์. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงถึงพื้นที่อันน่ารื่นรมย์ด้วยสามารถเป็นพื้นที่อันน่ารื่นรมย์ของมนุษย์
จึงตรัสว่า คาเม วา ดังนี้เป็นต้น .
จบอรรถกถารามเณยยกสูตรที่ 5

6. ยชมานสูตร



ว่าด้วยทานที่ให้ในอริยสงฆ์มีผลมาก



[922] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงถวายบังคมแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.
[923] ท้าวสักกะจอมเทพประทับ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบร้อย
แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญบูชาอยู่ กระทำบุญมีอุปธิ

เป็นผล ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก
พระพุทธเจ้าข้า.

[924] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ท่านผู้ปฏิบัติ 4 จำพวก ท่านผู้ตั้งอยู่
ในผล 4 จำพวก นั่นคือพระสงฆ์ เป็น
ผู้ซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล
เมือมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญ
บูชาอยู่ กระทำบุญมีอุปธิเป็นผล ทานที่
ให้แล้วในสงฆ์มีผลมาก.


อรรถกถายชมานสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในยชมานสูตรที่ 6 ต่อไปนี้ :-
บทว่า ยชมานํ แปลว่า บูชาอยู่. มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งนั้นพวก
ชาวอังคะและมคธ. ได้ถือเอาเนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นอย่างเลิศเป็น
ประจำปี เอาฟืนบรรทุกเกวียนประมาณ 60 เล่ม กองสุมไว้ในที่แห่งหนึ่ง
แล้วก่อไฟ ขณะที่ไฟลุก ใส่ของเลิศทั้งหมดนั้นด้วยหมายว่า พวกเราจะบูชา
ท้าวมหาพรหม. นัยว่าเป็นความเธอถือของพวกเขาว่า ใส่ลงไปครั้งหนึ่งจะให้
ผลแสนเท่า.
ท้าวสักกเทวราชดำริว่า พวกคนทั้งหมดนี้ถือเอาของเลิศทั้งปวงเผาใน
ไฟด้วยหมายว่า พวกเราจะบูชาท้าวมหาพรหม ทำสิ่งไร้ผล เมื่อเราเห็นอยู่
พวกเขาอย่าได้พินาศเสียเลย เราจักกระทำโดยที่ให้พวกเขาถวายแด่พระพุทธเจ้า