เมนู

จากบ้านเที่ยวไป คาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์ สามคาวุตบ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง ได้ทำ
ที่ไม่เรียบให้เรียบกับสหายเหล่านั้น.
สหายทั้งหมดเหล่านั้น ร่วมใจกันสร้างสะพานในที่ที่ควรมีสะพาน
ในที่นั้น ๆ สร้างมณฑปเป็นต้นในที่ที่ควรแก่มณฑป ศาลา สระโบกขรณี
สวนดอกไม้เป็นต้น ได้กระทำบุญมาก. มฆะบำเพ็ญวัตรบทเจ็ด ครั้นถึง
แก่กรรมได้ไปเกิดบนภพดาวดึงส์กับพวกสหาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ
เหตุทั้งปวงนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ท้าวสักกะได้ถึงความเป็น
ท้าวสักกะ เพราะถือธรรมเหล่าใด เรารู้ธรรมเหล่านั้นด้วย. นี้เป็นสังเขปกถา
ในการถึงความเป็นท้าวสักกะของท้าวสักกะ. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้
แล้ว ในสักกปัญหาวรรณนา อรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี.
จบอรรถกถาตติยเทวสูตรที่ 3

4. ทฬิททสูตร



ว่าด้วยผู้ไม่ขัดสน



[916] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.
[917] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาเเล้ว กรุงราชคฤห์นี้แล ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็นมนุษย์
ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์ยากไร้ เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ

จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ครั้นเขายึดมั่นศรัทธา ศีล
สุตะ จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายไป
ได้อุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตร
นั้น รุ่งเรื่องล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ.
[918] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทวดา
ชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่า-
อัศจรรย์นัก ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยังไม่เคยมีมาเลย เทพบุตรผู้นี้เมื่อ
ยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์
ยากไร้ เมื่อแตกกายตายแล้ว เขาอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหาย
ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ายกโทษต่อเทพบุตรนี้เลย
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เทพบุตรนี้แล เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว ครั้นยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัย
ที่พระตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายลง จึงอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึง
ความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรื่องล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมี
และยศ.
[919] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อ
จะทรงพลอยยินดีกะพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลใด มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ในพระตถาคต มีศีลงามที่พระอริยะเจ้า
พอใจสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระ-

สงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลาย
เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิต
ของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ
เหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง
ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งศรัทธา ศีล ความ
เลื่อมใส และความเห็นธรรมเถิด.


อรรถกถาทฬิททสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทฬิททสูตรที่ 4 ต่อไปนี้ :-
บทว่า มนุสฺสทฬิทฺโท คือ คนขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ
คือ ถึงความเป็นมนุษย์ควรกรุณา. บทว่า มนุสฺสวราโก คือเป็นคนเลว.
บทว่า ตตฺร แปลว่า ในที่นั้น . หรือในความรุ่งเรื่องนั้น. บทว่า อุชฺฌายนฺติ
แปลว่า เพ่งโทษ ได้แก่ คิดเเต่ความลามก. บทว่า ขิยฺยนฺติ คือประกาศ.
บทว่า วิปาเจนฺติ คือพูดเปิดเผยในที่นั้น ๆ. ในบทนี้ว่า เอโส โข มาริส
มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ ได้เป็น
พระเจ้ากรุงพาราณสี ในแคว้นกาสี ทรงกระทำประทักษิณพระนคร ซึ่งยกธงชัย
และธงแผ่นผ้าขึ้น ประดับด้วยเครื่องประดับพระนครอย่างดี ด้วยสิริสมบัติ
ของพระองค์ อันฝูงชนจ้องมองเป็นตาเดียวกัน. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า
องค์หนึ่ง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ถึงพร้อมด้วยการฝึกตนอย่างดี มาจาก