เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้
สาปแช่งท้าวสมพรจอมอสูร แล้วอันตรธานหายไปในที่ตรงหน้าท้าวสมพรจอม
อสูรแล้วไปปรากฏอยู่ในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
[904] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสมพรจอมอสูรถูกฤาษี
ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นสาปแช่งแล้ว ได้ยินว่า ในคืนวันนั้น ตกใจ
หวาดหวั่นถึงสามครั้ง.
จบสมุททกสูตร
จบวรรคที่ 1


อรรถกถาสมุททกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมุตตกสูตรที่ 10 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ ความว่า พวกฤาษีอาศัยอยู่ใน
บรรณศาลา มีประการดังกล่าวแล้วบนหาดทราย มีสีเหมือนแผ่นเงินหลังมหา-
สมุทรในจักรวาล. บทว่า สิยาปิ นํ แก้เป็น สิสยาปิ อมฺหากํ แปลว่า
แม้พึงมีแก่พวกเรา บทว่า อภยทกฺขิณํ ยาเจยฺยาม ได้แก่ พึงขออภัยทาน.
นัยว่า สงความระหว่างเทวดาและอสูร โดยมากมีขึ้นที่หลังมหาสมุทร. ชัยชนะ
มิได้มีแก่พวกอสูรในทุกเวลา. พวกอสูรเป็นฝ่ายแพ้เสียหลายครั้ง.
พวกอสูรเหล่านั้น แพ้เทวดาแล้วพากันหนีไปทางอาศรมบทของพวก
ฤาษี โกรธว่า ท้าวสักกะ ปรึกษากับ พวกฤาษีเหล่านี้ ทำเราให้พินาศ โดยพวก
ท่านจับทั้งแม่ทั้งลูก. พวกอสูรจึงพากัน ทำลายหม้อน้ำดื่มและศาลาที่จงกรม
เป็นต้นในอาศรมบทนั้น. พวกฤาษีถืออาผลาจากป่ากลับมาเห็นช่วยกันทำ

ให้เหมือนเดิมด้วยความลำบากอีก. แม้พวกอสูรเหล่านั้นก็ทำให้พินาศอย่างนั้น
บ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พวกฤาษีสดับว่า บัดนี้ สงความระหว่างเทวดาและ
อสูรปรากฏขึ้นดังนี้ จึงคิดอย่างนั้น. บทว่า กามํ กโร ได้แก่ กระทำตาม
ความปรารถนา. บทว่า ภยสฺส อภยสฺส วา แก้เป็น ภยํ วา อภยํ วา
แปลว่า ภัย หรือ อภัย. ท่านอธิบายข้อนี้ไว้ว่า หากท่านประสงค์จะให้อภัยก็
พอให้อภัยได้ หากท่านประสงค์จะให้ภัยก็พอจะให้ภัยได้ แต่สำหรับพวกอาตมา
ท่านจงให้อภัยทานเถิดดังนี้. บทว่า ทุฏฐานํ แปลว่า ผู้ประทุษร้ายแล้ว คือ
ผู้โกรธแล้ว. บทว่า ปวุตฺตํ คืออันเขาหว่านไว้ในนา. บทว่า ติกฺขตฺตุํ
อุพฺพิชฺชติ ความว่า จอมอสูรบริโภคภัตรในตอนเย็นแล้วขึ้นที่นอน นอนพอ
จะงีบหลับ ก็ลุกขึ้นยืนร้องไปรอบ ๆ. เหมือนถูกหอกร้อยเล่มทิ่มแทง. ภพอสูร
หนึ่งหมื่นโยชน์ถึงความปั่นป่วนว่า นี่อะไรกัน. ลำดับนั้น พวกอสูรพากันมา
ถามจอมอสูร นี่อะไรกัน. จอมอสูรไม่พูดอะไรเลย. แม้ในยามที่สองเป็นต้น
ก็มีนัยนี้แล. ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพวกอสูรพากันปลอบจอมอสูรว่า อย่ากลัวเลย
มหาราชดังนี้ จนอรุณขึ้น. ตั้งแต่นั้นมา จอมอสูร ก็มีใจหวั่นไหวเกิดอาการไข้
ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จอมอสูรนั้น จึงเกิดชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า
เวปจิตติ.
จบ อรรถกถาสมุททกสูตรที่ 10
จบ วรรคที่ 1


รวมพระสูตรแห่งสักกสังยุตมี 10 สูตร คือ


1. สุวีรสูตร 2. สุสิมสูตร 3. ธชัคคสูตร 4. เวปจิตติสูตร
5. สุภาสิตชยสูตร 6. กุลาวกสูตร 7. นทุพภิยสูตร 8. วิโรจนอสุรินท-
สูตร 9. อารัญญกสูตร 10. สมุททกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา