เมนู

8. วิโรจนอสุรินทสูตร


จอมอสูรกับท้าวสักกะแสดงคำสุภาษิต


[890] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
กำลังเสด็จเข้าที่พักกลางวัน ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าววิโรจนะ-
จอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนพิงบานพระทวารองค์ละข้าง.
[891] ลำดับนั้นเเล ท้าววิโรจนะจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประ-
โยชน์สำเร็จ ประโยชน์งดงามอยู่ที่ความ
สำเร็จ นี้เป็นถ้อยคำของวิโรจนะ.
[892] ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า
เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประ-
โยชน์สำเร็จ ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่
ที่ความสำเร็จ ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี.
[893] ท้าววิโรจนะจอมอสูรตรัสว่า
สรรพสัตว์ย่อมเกิดความต้องการใน
สิ่งนั้น ๆ ตามควร ส่วนการบริโภคของ
สรรพสัตว์มีการปรุงประกอบเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
นี้เป็นถ้อยคำของวิโรจนะ.

[894] ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า
สรรพสัตว์ย่อมเกิดความต้องการใน
สิ่งนั้น ๆ ตามควร ส่วนการบริโภคของ
สรรพสัตว์ มีการปรุงประกอบเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี.


อรรถกถาวิโรจนอสุรินทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวิโรจนอสุรินทสูตรที่ 8 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อฏฺฐํสุ ได้แก่ ยืนดุจรูปคนเฝ้าประตู. บทว่า นิปฺปทา
เเปลว่า ความสำเร็จ. ท่านอธิบายว่า เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์
จะสำเร็จทีเดียว. คาถาที่ 2 เป็นของท้าวสักกะ. ในบทเหล่านั้น บทว่า
ขนฺตฺยา ภิยฺโย ความว่า บรรดาประโยชน์ทั้งหลายงามอยู่ที่ความสำเร็จ
ไม่มีประโยชน์ยิ่งกว่าขันติ. บทว่า อตฺถชาตา ได้แก่ มีกิจเกิดแล้ว.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า สัตว์ ที่ไม่มีกิจเกิดแล้ว แม้กระทั่งสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก
เป็นต้น ย่อมไม่มี. แม้เพียงเดินไปข้างนี้ ข้างโน้น ก็เป็นกิจเหมือนกัน .
บทว่า สํโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณินํ แปลว่า การบริโภค
ของสัตว์ทั้งปวงมีการปรุงเป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า เพราะข้าวค้างคืนเป็นต้น
ไม่ควรบริโภค. แต่ข้าวเหล่านั้น อุ่นให้ร้อน กระจายออกปรุงด้วยเนยใส