เมนู

อรรถกถานทุพภิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนทุพภิยสูตรที่ 7 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ท้าวสักกะนี้ดำริว่า เราไม่ควรประทุษร้าย
แม้แก่ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา. คิดต่อไปว่า ชื่อว่า ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อท้าวเวปจิตตินั้น
นอกจากเราไม่มี เราจักทดลองดูท้าวเวปจิตตินั้นก่อน เขาเห็นเราแล้วจะ
ประทุษร้าย หรือไม่ประทุษร้าย จึงเข้าไปหา. บทว่า ติฏฺฐ เวปจิตฺติ
คหิโตสิ
ความว่า ท้าวสักกะตรัสร่า ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ท่านจงหยุด ณ
ที่นี้เถิด ท่านถูกเราจับแล้ว. พร้อมกับดำรัสของท้าวสักกะนั้น ท้าวเวปจิตติ
ก็ถูกผูกมัด โดยผูกมัดมีคอเป็นที่ 5. บทว่า สปสฺสุ จ เม ความว่า
ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้ายในเรา.
บทว่า ยํ มุสา ภณโต ปาปํ ความว่า ท่านกล่าวหมายถึงบาปของพระเจ้า
เจติยราชในปฐมกัปในกัปนี้. บทว่า อริยูปวาทิโน ได้แก่ บาปดุจบาปของ
ภิกษุโกกาลิกะ. บทว่า มิตฺตทฺทุโน จ ยํ ปาปํ ได้แก่บาปของผู้มีจิต
ประทุษร้ายในพระมหาสัตว์ ในมหากปิชาดก. บทว่า อกตญฺญุโน ได้แก่
บาปของคนอกตัญญู เช่นเทวทัต. นัยว่า ในกัปนี้ มี 4 มหากัป.
จบอรรถกถานทุพภิยสูตรที่ 7.

8. วิโรจนอสุรินทสูตร


จอมอสูรกับท้าวสักกะแสดงคำสุภาษิต


[890] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
กำลังเสด็จเข้าที่พักกลางวัน ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าววิโรจนะ-
จอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนพิงบานพระทวารองค์ละข้าง.
[891] ลำดับนั้นเเล ท้าววิโรจนะจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประ-
โยชน์สำเร็จ ประโยชน์งดงามอยู่ที่ความ
สำเร็จ นี้เป็นถ้อยคำของวิโรจนะ.
[892] ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า
เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประ-
โยชน์สำเร็จ ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่
ที่ความสำเร็จ ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี.
[893] ท้าววิโรจนะจอมอสูรตรัสว่า
สรรพสัตว์ย่อมเกิดความต้องการใน
สิ่งนั้น ๆ ตามควร ส่วนการบริโภคของ
สรรพสัตว์มีการปรุงประกอบเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
นี้เป็นถ้อยคำของวิโรจนะ.