เมนู

5. สุภาสิตชยสูตร



ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต



[877] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร-
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
[878] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างพวกเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอม
เทวดาว่า แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด.
ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะ
กันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาและพวกอสูรได้ร่วมกัน
ตั้งผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิตของพวกเรา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าว
สักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูร
ว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ในเทวโลกนี้ท่านเป็นเทพมาก่อน ท่านจงกล่าวคาถาเถิด.
[879] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวป-
จิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
พวกคนพาลไม่มีผู้กำราบ มันยิ่ง
กำเริบ ฉะนั้น นักปราชญ์ผู้มีปัญญา พึง
กำราบคนพาลเสียด้วยอาญาอันรุนแรง.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาแล้ว เหล่า
อสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็พากันนิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับ
นั้นแลท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา
ท่านจงกล่าวคาถาเถิด.
[880] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าว-
สักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถามนี้ว่า
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ
ระงับไว้ได้ เราเห็นว่าการระงับไว้ได้ของ
ผู้นั้น เป็นการกำราบคนพาล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาแล้ว พวก
เทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล
ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ท่าน
จงตรัสคาถาเถิด.
[881] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
ดูก่อนท้าววาสวะ เราเห็นโทษของ
การอดกลั้นนี้แหละ เพราะว่าเมื่อใดคน
พาลสำคัญเห็นผู้นั้นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเรา
เพราะความกลัว เมื่อนั้น คนพาลผู้ทราม
ปัญญายิ่งข่มขี่ผู้นั้นเหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัว
แพ้ที่หนีไป ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรภาษิตคาถาแล้ว เหล่า
อสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็นิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจง
ตรัสคาถาเถิด.

[882] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเช่นนี้
ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า
บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้น
ต่อเราเพราะความกลัว หรือหาไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น
อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใด
แลเป็นคนมีกำลังอดกลั้นต่อคนทุรพลไว้
ได้ ความอดกลั้นไว้ได้ของผู้นั้นบัณฑิตทั้ง
หลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพล
ย่อมอดทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลาย
เรียกกำลังของผู้ที่มีกำลังอย่างคนพาลว่ามิ
ใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้ที่มี
กำลังอันธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะ
ความโกรธนั้น โทษอันลามกจึงมีแก่ผู้ที่
โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคลผู้ไม่โกรธ
ตอบผู้ที่โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงคราม
ซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธ
แล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่า
ประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้ง
ฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของทั้ง
สองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็น
คนโง่ ดังนี้.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ แล้ว
พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง.
[883] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทวดา
และพวกอสูรได้กล่าวคำนี้ว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล
แต่คาถาเหล่านั้นมีความเกี่ยวเกาะด้วยอาชญา มีความเกี่ยวเกาะด้วยศาสตรา
เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความทะเลาะวิวาท ท้าว
สักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล ก็คาถาเหล่านั้นไม่เกี่ยวเกาะด้วย
อาชญา ไม่เกี่ยวเกาะด้วยศาสตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความไม่หมายมั่น
ความไม่แก่งแย่ง ความไม่ทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอมเทวดาชนะเพราะได้ตรัส
คำสุภาษิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิตได้เป็นของท้าว
สักกะจอมเทวดาด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาสุภาสิตชยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสุภาสิตชยสูตรที่ 5 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุรินฺทํ เอตทโวจ ความว่า ได้กล่าวคำนี้ ด้วยความเป็น
ผู้ฉลาด. ได้ยินว่า จอมอสูรนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า การกล่าวแก้การถือของผู้
อื่นก่อน เป็นการหนัก แต่การกล่าวคล้อยตามคำของผู้อื่นในภายหลัง สบาย.
บทว่า ปุพฺพเทวา ความว่า ผู้อยู่มานานในเทวโลก ย่อมเป็นเจ้าของก่อน.
อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวคำที่มาตามประเพณีของท่านก่อน. บทว่า
อทณฺฑาวจรา ความว่า เว้นจากการถือตะบอง. อธิบายว่า ไม่มี เช่นใน
คำนี้ว่า พึงถือตะบองหรือมีด.
จบอรรถกถาสุภาสิตชยสูตรที่ 5.