เมนู

อรรถกถาเวปจิตติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเวปจิตติสูตรที่ 4 ต่อไปนี้ :-
บทว่า เวปจิตฺตํ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นหัวหน้าของพวกอสูร. บทว่า
เยน สักว่า เป็นนิบาต. บทว่า นํ แปลว่า นั้น . บทว่า กณฺฐปญฺเจเมหิ
ความว่า ที่มัด 5 แห่ง คือที่มือ 2 ที่เท้า 2 และที่คอ 1 ก็เครื่องมัดนั้นย่อมมา
สู่คลองจักษุ คือ ปิดกั้นอิริยาบถเหมือนใยบัว และเหมือนใยแมลงมุม. ก็ถูก
เขามัดด้วยเครื่องมัดเหล่านั้นไว้ด้วยจิต ก็ย่อมหลุดด้วยจิต. บทว่า อกฺโกสติ
ความว่า เขาย่อมด่าด้วยอักโกสวัตถุ 10 เหล่านั้นว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นพาล
เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นวัว เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติเท่านั้น. บทว่า ปริภาสติ ความว่า
กล่าวคำเป็นต้นเหล่านี้ ขู่ว่า ดูก่อนเฒ่าสักกะ ท่านจักชนะทุกเวลาไม่ได้
เมื่อใดพวกอสูรจักชนะ. เมื่อนั้นเราจะมัดท่านอย่างนี้บ้าง จักให้นอนที่ประตูของ
แดนอสูรแล้วตี. ท้าวสักกะมีชัยชนะแล้ว ก็ใม่ใส่ใจคำของจอมอสูรนั้น. ก็แล
มีการรับของอย่างใหญ่ท้าวสักกะฉุดที่หัวของจอมอสูรนั้น เข้าไปสู่เทวสภาชื่อ
สุธัมมาและกลับออกมา. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า มาตลีเทพบุตรพิจารณาว่า
ท้าวสักกะนี้อดทนต่อคำหยาบเหล่านี้ เพราะความกลัวหรือ หรือว่า เพราะเป็น
ผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ จึงทูลแล้ว.
บทว่า ทุพฺพเลฺยน แปลว่า ด้วยความอ่อนแอ. บทว่า ปฏิสํยุเช
แปลว่า จะพึงสมคบ คือจะพึงคลุกคลี. บทว่า ปภิชฺเชยฺยุํ แปลว่า จะพึง
ร้าวราน. บาลีว่า ปภุชฺเชยฺยํ บ้าง. บทว่า ปรํ แปลว่า ข้าศึก. บทว่า
โย สโต อุปสมฺมติ ความว่า ผู้ใดมีสติเข้าไประงับ อธิบายว่า เราเข้าไป

ระงับ คือห้ามคนพาลนั้น. บทว่า ยทา นํ มญฺญติ ความว่า สำคัญโทษ
นั้น เพราะเหตุใด. บทว่า อชฺฌารูหติ แปลว่า กดขี่. บทว่า โคว ภิยฺโย
ปลายินํ
ความว่า พวกวัวย่นดูวัว 2 ตัวกำลังชนกันในฝูงเพียงที่ตัวหนึ่งยัง
ไม่หนี แต่เมื่อใดตัวหนึ่งหนี เมื่อนั้นพวกวัวทั้งปวง ก็ช่วยกันไล่กวดวัวตัวที่
หนีนั้นยิ่งขึ้น ฉันใด คนโง่ก็ข่มทับผู้อดทน ฉันนั้น. บทว่า สทตฺถปรมา
แปลว่า มีประโยชน์ตนเป็นอย่างยิ่ง. บทว่า ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ
ความว่า ในประโยชน์ที่มีประโยชน์ของตนเป็นอย่างยิ่งนั้น ประโยชน์ที่ยิ่งกว่า
ขันติไม่มี. บทว่า ตมาหุ ปรมํ ขนฺตึ ความว่า ผู้ใดมีกำลังย่อมอดทนได้
ท่านกล่าวขัตินั้นของผู้นั้นว่า เป็นอย่างยิ่ง. กำลังที่เกิดจากความไม่รู้ ชื่อ
กำลังของคนโง่. กำลังของคนโง่นั้น เป็นกำลังของผู้ใด กำลังนั้นไม่เป็นกำลัง
ท่านไม่กล่าว คือ บอกแสดงกำลังนั้นว่า เป็นกำลัง. บทว่า ธมฺมคุตฺตสฺส
ความว่า ผู้อันธรรมรักษาแล้ว หรือผู้รักษาธรรม. บทว่า ปฏิวตฺตา แปลว่า
ผู้กล่าวโต้แย้ง. หรือว่า พึงกล่าวโต้แย้งว่า อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม. แต่ว่า
ชื่อว่า ผู้สามารถจะยังผู้ตั้งอยู่ในธรรมไม่หวั่นไหวไม่มี. บทว่า ตสฺเสว เตน
ปาปิโย
ความว่า ความชั่วของบุคคลนั้นย่อมมี เพราะความโกรธนั้น. ถามว่า
เป็นความชั่วของใคร. ตอบว่า ของคนผู้โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ. บทว่า
ติกิจฺฉนฺตานํ เป็นพหุวจนะใช้ในเอกวจนะ. อธิบายว่า รักษาประโยชน์ไว้ได้.
บทว่า ชนา มญฺญนฺติ ความว่า ปุถุชนผู้โง่เขลาย่อมสำคัญว่า คนโง่เขลานี้
ย่อมสำคัญบุคคลผู้แก้ไขยังประโยชน์ ทั้ง 2 ฝ่าย คือของตนและของผู้อื่นเห็น
ปานนี้ ให้สำเร็จ. บทว่า ธมฺมสฺอโกวิทา ความว่า ไม่ฉลาดในอริยสัจ 4.
บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้. บทว่า โข ตํ เป็นเพียงนิบาต.
จบอรรถกถาเวปจิตติสูตรที่ 4



5. สุภาสิตชยสูตร



ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต



[877] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร-
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
[878] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างพวกเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอม
เทวดาว่า แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด.
ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะ
กันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาและพวกอสูรได้ร่วมกัน
ตั้งผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิตของพวกเรา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าว
สักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูร
ว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ในเทวโลกนี้ท่านเป็นเทพมาก่อน ท่านจงกล่าวคาถาเถิด.
[879] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวป-
จิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
พวกคนพาลไม่มีผู้กำราบ มันยิ่ง
กำเริบ ฉะนั้น นักปราชญ์ผู้มีปัญญา พึง
กำราบคนพาลเสียด้วยอาญาอันรุนแรง.