เมนู

หรือพวกเราไม่มีความกังวล ย่อมอยู่เป็น
สุขสบายหนอ พวกเราจักมีปีติเป็นภักษา
ดุจอาภัสสรเทพ ฉะนั้น.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้
จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถาปิณฑิกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปิณฑิกสูตรที่ 8 ต่อไป :-
บทว่า ปาหุนกานิ ภวนฺติ ความว่า ของขวัญที่พึงส่งไปในที่นั้นๆ
ในงานนักขัตฤกษ์เห็นปานนั้นหรือไทยทานเป็นบรรณาการสำหรับต้อนรับแขก
[อาคันตุกะ] ได้ยินว่า วันนั้นเป็นวันเที่ยวเตร่กันตามลำพัง [เสรี] พวกหนุ่มๆ
ที่มีวัยและชาติเสมอกันอันตระกูลคุ้มครองแล้วก่ออกไปชุมนุมกัน. แม้พวกสาว
ก็แต่งตัวด้วยเครื่องตกแต่งอันเหมาะแก่สมบัติตน ๆ เที่ยวเตร่กันไปในที่นั้น ๆ
ในจำพวกหนุ่มสาวเหล่านั้น แม้พวกสาว ๆ ก็ส่งของขวัญ ให้แก่พวกหนุ่ม ๆ ที่
ตนพอใจ. ถึงพวกหนุ่มๆ ก็ส่งของขวัญให้พวกสาว ๆ เหมือนกัน. เมื่อไม่มีของ
ขวัญอย่างอื่น โดยที่สุดก็คล้องแม้ด้วยพวงมาลัย. บทว่า อนฺวาวิฏฺฐา ได้แก่
เข้าไปสิงแล้ว. ได้ยินว่า วันนั้น พวกสาว 500 คน กำลังเดินไปเล่นใน
สวน พบพระศาสดาสวนทางมาก็พึงถวายขนมอ่อน. พระศาสดาจึงทรงแสดง
ธรรมเบ็ดเตล็ด เพื่ออนุโมทนาทานของพวกสาวเหล่านั้น. เมื่อจบเทศนา พวก
สาวทั้งหมดพึงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น มารจึงเข้าดลใจ ด้วยหมายจักทำ
อันตรายแก่สมบัตินั้น. แต่ในบาลี ท่านกล่าวไว้เพียงว่า ขอพระสมณโคดม
อย่าได้อาหารเลย.

ถามว่า พระศาสดาไม่ทรงทราบการดลใจของมารหรือจึงเสด็จเข้าไป.
ตอบว่าใช่ไม่ทรงทราบ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่ทรงนึกไว้. จริงอยู่ การนึก
ว่าเราจักได้หรือไม่ได้อาหารในที่โน้น ดังนี้ ไม่สมควรแก่พระพุทธทั้งหลาย.
ก็พระศาสดาเสด็จเข้าไปแล้ว ทรงเห็นความผิดแผกแห่งการปฏิบัติของเหล่าผู้คน
ทรงนึกว่า นี้อะไรกัน ก็ทรงทราบ ทรงพระดำริว่า การทำลายการดลใจของ
มาร เพื่ออามิสไม่สมควร จึงไม่ทรงทำลายเสด็จออกไปเสีย.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารดีใจเหมือนชนะศัตรู จึงแปลงเพศ
เป็นชาวบ้านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่ได้อาหารแม้เพียงทัพพีเดียว
ในบ้านทั้งสิ้น กำลังเสด็จออกไปจากหมู่บ้าน. คำว่า ตถาหํ กริสฺสามิ นี้เป็น
คำที่มารพูดเท็จ ได้ยินว่า มารนั้นคิดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พระ-
สมณโคดมเสด็จเข้าไปอีก ที่นั้น พวกเด็กชาวบ้านก็จักพูดเยาะเย้ยเป็นต้นว่า
พระสมณโคดมเที่ยวไปทั่วบ้าน ไม่ได้ภิกษาแม้แต่ทัพพีเดียว ออกจากหมู่บ้าน
แล้วยังเสด็จเข้าไปอีก ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ถ้ามารนี้
จักเบียดเบียนเราอย่างนี้ ศีรษะของเขาก็จักแตก 7 เสี่ยงแน่ จึงไม่เสด็จเข้าไป
ด้วยทรงเอ็นดูในมารนั้นจึงตรัส 2 พระคาถา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสวิ ได้แก่ให้เกิด คือให้เกิดขึ้น. บทว่า
อาสชฺช นํ ได้แก่ขัดขวาง คือ กระทบแล้ว. ด้วยบทว่า น เม ปาปํ วิปจฺจติ
ทรงแสดงว่าท่านยังจะสำคัญอยู่อย่างนี้หรือว่า บาปจะไม่ให้ผลแก่เรา คือบาป
นั้นไม่มีผล ท่านอย่าสำคัญอย่างนั้น ผลของบาปที่ท่านทำมีอยู่ ดังนี้. บทว่า
กิญฺจนํ ได้แก่ ข่ายคือกิเลสมีกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้น ที่สามารถย่ำยีได้.
บทว่า อาภสฺสรา ยถา ความว่า เราจักเป็นเหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ
ที่ดำรงอัตภาพด้วยฌานที่มีปิติ ชื่อว่ามีปีติเป็นภักษาหาร.
จบอรรถกถาปิณฑิกสูตรที่ 8

9. กัสสกสูตร



ว่าด้วยมารแปลงเพศเป็นชาวนา



[470] สาวัตถีนิทาน.
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และ
ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสต
ลงสดับธรรมอยู่.
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยัง
ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
เกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับ
เพื่อทำปัญญาจักษุให้พินาศ.
[471] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่
ถือปฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ เท้าทั้งสอง
เปื้อนโคลน เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
ข้าแต่สมณะ ท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการ
อะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า.
มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็น
ของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยจักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเรา
ไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือ
วิญญาณอันอาศัยโสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ
จมูกเป็นของเรา กลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยฆานสัมผัส