เมนู

สักกสังยุต



ปฐมวรรคที่ 1



1. สุวีรสูตร



ว่าด้วยสุวีรเทพบุตรมัวประมาท



[847] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเขตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[848] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคย
มีนาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุวีระ พวกอสูร
เหล่านี้ กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สุวีรเทพบุตรรับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอ
พระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้ครั้งที่ 2 แล ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อ-
สุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูร
ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ 2 สุวีรเทพบุตรรับ บัญชาของท้าวสักกะ
จอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ แล้วมัวประมาทเสีย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ 3 ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียก
สุวีรเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา
พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ 3 สุวีรเทพบุตร
รับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
แล้วมัวประมาทเสีย.
[849] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดา
ตรัสกะสุวีรเทพบุตรด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม จะ
ประสบสุขได้ ณ ที่ใด ดูก่อนสุวีระ เจ้า
จงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ
ที่นั้นด้วยเถิด.

[850] สุวีรเทพบุตรทูลว่า
บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น
และไม่ใช้ใคร ๆ ให้กระทำกิจทั้งหลาย
อีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง
ข้าแต่ท่าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอก
ฐานะอันประเสริฐนั้น แก่ข่าพระองค์.

[851] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น
ถึงความสุขล่วงส่วนได้ สุวีระ เจ้าจงไป
ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น
ด้วยเถิด.

[852] สุวีรเทพบุตรทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้ความสุขใด
โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขนั้นอัน
ประเสริฐ ที่ไม่มีความแห้งใจ ไม่มีความ
คับแค้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[853] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำ
การงาน ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ย่อม
ทรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่ง
นิพพาน สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และ
จงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้นด้วยเถิด.

[854] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น
อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความ
เป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงพรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความ
หมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้
พึงหมั่น เพียรพยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่
ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึง
งดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.

สักกสังยุตตวัณณนา



อรรถกถาสุวีรสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสุวีรสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 1 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิยํสุ คือ เตรียมไปต่อสู้. มีกำลังเมื่อใด ในสูตรนั้นมี
อนุบุพพิกถา ดังนี้ ได้ยินว่า ท้าวสักกะเป็นมาณพชื่อ มฆะ ในอจลคามใน
แคว้นมคธ พาบุรุษ 30 คน ทำกัลยาณกรรมบำเพ็ญวัตรบท 7 ทำกาละใน
ที่นั้นแล้วไปเกิดในเทวโลก. เทวดาพวกเก่าเจ้าถิ่นเห็นมฆมาณพนั้นพร้อมด้วย
บริษัท ประกอบไปด้วยฐานะ 10 ด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันแรงกล้า คิดว่า
เทวบุตรผู้เป็นอาคันตุกะมาแล้ว จึงเตรียมน้ำคันธบานเพื่อดื่ม. ท้าวสักกะได้
ให้คำเตือนแก่บริษัทบริวารของตนว่า ดูก่อนผู้นิรทุกข์ อย่าดื่มน้ำคันธบาน
จงแสดงเพียงอาการดื่มเท่านั้น. พวกเขาได้ทำอย่างนั้น. เทวบุตรเจ้าถิ่นดื่มน้ำ
คันธบานที่เข้านำเข้าไปให้ด้วยจอกทองตามต้องการ เมาล้มลงนอนอยู่บนแผ่นดิน
ทองนั้น ๆ. ท้าวสักกะกล่าวว่า จงจับพร้อมทั้งแม่ทั้งลูกไปดังนี้แล้ว จับที่เท้า
ขว้างไปที่เชิงภูเขาสิเนรุ. เทวบุตรทั้งปวงแม้ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ก็ไปตกลงใน
ที่นั้น ด้วยเดชแห่งบุญของท้าวสักกะ. เทวบุตรเหล่านั้นได้ความรู้สึกตัวใน
เวลาที่อยู่กลางภูเขาสิเนรุ จึงกล่าวว่า พวกเราไม่ดื่มสุราละพ่อ. จำเดิมแต่นั้น
จึงได้ชื่อว่า อสูร. ภายหลังแดนอสุรมีประมาณหมื่นโยชน์ ซึ่งตั้งขึ้นตามฤดู.
เพราะปัจจัยแห่งกรรมของพวกเขา ก็เกิดขึ้นในพื้นภายใต้แห่งภูเขาสิเนรุ.
ท้าวสักกะตั้งอารักขาเพื่อต้องการไม่ให้เทวบุตรเหล่านั้นกลับมา. ท่านกล่าว
หมายความว่า