เมนู

ก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น ยักษ์จึงกล่าวว่า มีโอชาโดยไม่ได้ปรุงแต่ง บทว่า
มญฺเญ สปฺปญฺญา ความว่า เหมือนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตดื่มอยู่. บทว่า
วลาหกมิว ปนฺถคู ความว่า เหมือนคนเดินทางฤดูร้อนจัด ดื่มน้ำไหลจาก
กลีบเมฆ ฉะนั้น.
จบอรรถกถาปฐมสุกกาสูตรที่ 9

10. ทุติยสุกกาสูตร



ยักษ์สรรเสริญผู้ถวายอาหารแก่สุกกาภิกษุณี



[834] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายโภชนาหารแก่สุกกาภิกษุณี.
[835] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยัง
ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ใน
เวลานั้นว่า
อุบาสกผู้ได้ถวายโภชนะแก่สุกกา
ภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด
ทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสบบุญ

มากหนอ.

อรรถกถาทุติยสุกกาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสุกกาสูตรที่ 10 ต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุญฺญํ วต ปสวิ พหุํ ความว่า อุบาสกประสบบุญมากหนอ.
จบอรรถกถาทุติยสุกกาสูตรที่ 10

11. จีราสูตร



ยักษ์สรรเสริญผู้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี



[836] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี.
[837] ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในจีราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยัง
ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ใน
เวลานั้นว่า
อุบาสกผู้ได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี
หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง
เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสบบุญมากหนอ.