เมนู

การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่
สมณะเช่นท่าน ผู้ละกิเลสได้ทั้งหมด ผู้
พ้นจากไตรภพ.

[806] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน
ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คนมี
ปัญญาไม่ควรที่จะไหวตามเหตุนั้นด้วยใจ
ถ้าค้นมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น บุคคล
นั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วยเหตุนั้น นอก
จากจะอนุเคราะห์เอ็นดู.


อรรถกถาสักกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ 2 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สกฺกนามโก คือ ยักษ์มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า ยักษ์นี้เป็น
ฝ่ายมาร. บทว่า วิปฺปมุตฺตสฺส ได้แก่ พ้นจากภพ 3. บทว่า ยทญฺญํ
ตัดบทว่า ยํ อญฺญํ (อื่นใด). บท วณฺเณน คือเพราะเหตุ. บทว่า
สํวาโส คืออยู่ด้วยกัน. อธิบายว่า เป็นสหายธรรม มิตรธรรม. บทว่า
สปฺปญฺโญ
คือผู้มีปัญญา ผู้รอบรู้.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ 2

3. สูจิโลมสูตร



ว่าด้วยราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุ



[807] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเตียงชนิดมีเท้าตรึง
ติดกับแม่แคร่ อันเป็นที่ครอบครองของสูจิโลมยักษ์ ในบ้านคยา.
สมัยนั้นแล ยักษ์ขอขระและยักษ์ชื่อสูจิโลมะเดินผ่านเข้าไปไม่ไกล
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อขระได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ.
นั่นไม่ใช่สมณะ เป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะหรือสมณะน้อย
เราพอจะรู้ได้.
[808] ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
น้อมกายเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระเถิบถอยพระกายไปเล็กน้อย.
ครั้งนั้นแล สูจิโลนยักษ์ได้ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านกลัวเรา
หรือ ? สมณะ.
อาวุโส เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัสของท่านเลวทราม.
สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่กล่าวแก้แก่เรา เราจัก
ทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้ว
เหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา.
อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึงทำจิตของเรา
ให้พลุ่งพล่าน หรือฉีกหัวใจเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่ง
แม่น้ำคงคาได้ อาวุโส เอาเถอะ ท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด.