เมนู

ยักขสังยุตตวัณณนา



อรรถกถาอินทกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอินทกสูตรที่ 1 แห่งยักขสังยุตต่อไปนี้ :-
บทว่า อินฺทกสฺส คือ ยักษ์อยู่ที่เขาอินทกูฏ. จริงอยู่ พระสูตรนี้
ได้ชื่อจากยักษ์กับยอด และจากยอดกับยักษ์. บทว่า รูปํ น ชีวนฺติ วทนฺติ
ความว่า ถ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่กล่าวรูปอย่างนี้ว่า สัตว์ บุคคล. บทว่า
กถํ นฺวยํ ตัดบทว่า กถํ นุ อยํ. บทว่า กุตสฺส อฏฺฐิยกปิณฺฑเมติ
ความว่า กระดูกและก้อนเนื้อของสัตว์นั้นจะมาแต่ไหน. ก็ในคำนี้ ท่านถือเอา
กระดูก 300 ท่อนด้วยศัพท์ว่า อัฏฐิ ชิ้นเนื้อง 900 ด้วยศัพท์ว่า ยกปิณฑะ.
ถามว่า ถ้ารูปไม่ใช่ชีวะ เมื่อเป็นเช่นนั้น กระดูกเหล่านี้และชิ้นเนื้อ
เหล่านี้ของเขาย่อมมาแต่ไหน. บทว่า กถํ นฺวยํ สชฺชติ คพฺภสฺมึ ความว่า
สัตว์นี้ติดอยู่คือข้องอยู่ เกิดอยู่ในครรภ์ของมารดา ด้วยเหตุไรหนอ. ได้ยินว่า
ยักษ์นี้มักพูดแต่บุคคลถือว่า สัตว์เกิดในครรภ์ของมารดาโดยการร่วมครั้งเดียว
ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ตามความเห็นว่า มารดาของสัตว์ที่เกิดในท้องย่อมกินปลา
และเนื้อเป็นต้น ปลาและเนื้อเป็นต้นทั้งปวงถูกเผาเพียงคืนเดียวก็ละลายไป
เหมือนฟองน้ำ ถ้ารูปไม่พึงเป็นสัตว์ก็พึงละลายไปอย่างนี้. ลำดับนั้น เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงแก่ยักษ์นั้นว่า สัตว์ไม่ได้เกิดในครรภ์ของ
มารดาโดยการร่วมครั้งเดียวเท่านั้นว่า เจริญขึ้นโดยลำดับ จึงตรัสว่า ปฐมํ
กลลํ โหติ
เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐมํ ความว่า ชื่อว่า ติสสะ หรือว่า ปุสสะ
ย่อมไม่พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณทีแรก. โดยที่แท้ กลละมีประมาณเท่าหยาด
น้ำมันงาซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยเส้นขนสัตว์ 3 เส้น ท่านกล่าวหมาย-
ความว่า.