เมนู

อรรถกถาปทุมปุปผสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปทุมปุปผสูตร ที่ 14 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดานั้นเห็นภิกษุนั้นจับก้านดอกบัว
น้อมมา (ดม) จึงคิดว่า ภิกษุนี้ เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว
เข้าป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม จะพิจารณาเอากลิ่นเป็นอารมณ์ ภิกษุนี้นั้นวัน
นี้ ดมกลิ่นแล้ว แม้ในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันมะรืนนี้ก็จักดมกลิ่น ตัณหาในกลิ่น
นั้นของภิกษุนั้น เพิ่มพูนขึ้นแล้ว จักยังประโยชน์ในชาตินี้และในชาติหน้าให้
พินาศ เมื่อเราเห็นอยู่ ภิกษุนี้อย่าพินาศเลย เราจักเตือนท่าน ดังนี้แล้ว
จึงเข้าไปพูด.
บทว่า เอกงฺคเมตํ เถยฺยานํ ความว่า นี้เป็นองค์หนึ่ง คือเป็นส่วน
หนึ่งแห่ง 5 ส่วน มีรูปารมณ์เป็นต้นที่พึงลักเอา. บทว่า น หรามิ แปลว่า
ไม่ถือเอาไป. บทว่า อารา คือภิกษุกล่าวว่า เราจับก้านในที่ไกลน้อมมา
ยืนดมอยู่ในที่ไกล. บทว่า วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุ. บทว่า ยฺวายํ
ตัดบทว่า โย อยํ (แปลว่า นี้ ใด). ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังพูดกับเทวดา
ดาบสคนหนึ่งก็ลงไปขุดเหงาบัวเป็นต้น. ท่านกล่าวหมายเอาความนั้น. บทว่า
อากิณฺณกมฺมนฺโต คือมีการงานไม่บริสุทธิ์อย่างนี้. บาลีว่า อขีณกมฺมนฺโต
บ้าง ความว่า มีการงานหยาบคาย. บทว่า น วุจฺจติ ความว่า เพราะเหตุไร
จึงไม่กล่าวว่า ขโมยกลิ่น หรือว่าขโมยดอกไม้. บทว่า อากิณฺณลุทฺโธ
คือมีความชั่วมาก หรือว่ามีความชั่วช้า. บทว่า อติเวลํว มกฺขิโต ความว่า
บุรุษนี้ผู้เปื้อนด้วยกิเลสมีราคะและโทสะเป็นต้น เหมือนอย่างผู้เศร้าหมอง
ที่แม่นมนุ่งแล้ว เปื้อนด้วยอุจจารปัสสาวะ ฝุ่นเขม่า และเปือกตมเป็นต้น.

บทว่า อรหามิ วตฺตเว แปลว่า ควรกล่าว. ได้ยินว่า การเตือนของเทวดา
ก็เช่นกับคำสอนของพระสุคต. บุคคลเลวน้อมไปเลว และปฏิบัติผิด ย่อมไม่ได้
รับการเตือนนั้น. ส่วนบุคคลควรแก่มรรคผลในอัตภาพนั้น ย่อมได้การเตือน
นั้น. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สุจิคเวสิโน คือ ผู้แสวงหาศีล
สมาธิและญาณที่สะอาด. บทว่า อพฺภามตฺตํว คือเหมือนสักว่าก้อนเมฆ
บทว่า ชานาสิ ได้แก่ รู้ว่าผู้นี้บริสุทธิ์. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า พึงกล่าว.
บทว่า เนว ตํ อุปชีวามิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้คิดว่า มีเทวดาผู้หวังดี
แก่เราจักเตือนจักชี้แจงเอง ดังนี้ จึงประกอบความประมาทว่า เราจักไม่รับคำ
ของเขา เพราะฉะนั้น เทวดาจึงกล่าวอย่างนี้ . บทว่า ตฺวเมว แปลว่า ท่าน
เอง. บทว่า ชาเนยฺย แปลว่า พึงรู้. บทว่า เยน คือด้วยกรรมใด. ความ
ว่า ท่านจะพึงไปสู่สุคติ ท่านเองจะพึงรู้กรรมนั้น.
จบอรรถกถาปทุมปุปผสูตร ที่ 14
จบอรรถกถาวนสังยุต ด้วยประการฉะนี้.


รวมพระสูตรแห่งวนสังยุต มี 14 สูตร คือ


1. วิเวกสูตร 2. อุปัฏฐานสูตร 3. กัสสปโคตตสูตร 4. สัมพหุล
สูตร 5. อานันทสูตร 6. อนุรุทธสูตร 7. นาคทัตตสูตร 8. กุลฆรณีสูตร
9. วัชชีปุตตสูตร 10. สัชฌายสูตร 11. อโยนิโสมนสิการสูตร 12. มัชฌัน-
ติกสูตร 13. ปากตินทริยสูตร 14. ปทุมปุปผสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา