เมนู

อรรถกถาปฏิรูปสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปฏิรูปสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า อนุโรธวิโรเธสุ ได้แก่ ในความยินดียินร้าย. บทว่า มา
สชฺชิตฺถ ตทาจรํ
ได้แก่ อย่ามัวยึดการกล่าวธรรมติดอยู่เลย. ด้วยว่า เมื่อ
ท่านกล่าวธรรมกถาอยู่ คนบางพวกถวายสาธุการ ก็เกิดความยินดีในคนพวก
นั้น คนบางพวกฟังไม่เคารพ ก็เกิดความยินร้ายในคนพวกนั้น ดังนั้น
พระธรรมกถึก ชื่อว่า ข้องอยู่ในความยินดียินร้าย ขอท่านอย่าข้องอย่างนั้นแล
มารกล่าวดังนี้. บทว่า ยทญฺญมนุสาสติ แปลว่า ย่อมสั่งสอนคนอื่นใด.
พระสัมพุทธะ ย่อมอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิตานุกมฺปี ผู้
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ก็เพราะเหตุที่ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์
เกื้อกูล ฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายแล.
จบอรรถกถาปฏิรูปสูตรที่ 4

5. มานสสูตร



ว่าด้วยบ่วงใจ



[458] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
[459] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กำลัง
เที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้
ด้วยบ่วงนั้น สมณะ ท่านไม่พ้นเรา.

[960] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
เราหมดความพอใจในรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของรื่นรมย์
ใจแล้ว แน่ะมาร เรากำจัดท่านได้แล้ว.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถามานสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมานสสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บ่วงชื่อว่า จรไปในอากาศ เพราะผูกแม้แต่ผู้จรไปในอากาศ. บทว่า
ปาโส ได้แก่ บ่วงคือ ราคะ. บทว่า มานโส ได้แก่ ประกอบกับใจ.
อรรถกถามานสสูตรที 5