เมนู

อรรถกถาอโยนิโสมนสิการสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอโยนิโสมนสิการสูตรที่ 11 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อกุสเล วิตกฺเก คือ ซึ่งมหาวิตก 3 มีกามวิตกเป็นต้น.
บทว่า อโยนิโสมนสิการา แปลว่า เพราะไม่ทำไว้ในใจด้วยอุบาย. บทว่า
โส แปลว่า ท่านนั้น. บทว่า อโยนิโส ปฏินิสฺสชฺช คือ ท่านจง
เว้นการไม่ทำไว้ในใจด้วยอุบายนั้น. บทว่า สตฺถารํ ได้แก่ กล่าวกัมมัฏฐาน
ที่น่าเลื่อมใสด้วยคาถานี้. บทว่า ปีติสุขมสํสยํ ได้แก่ จักบรรลุปีติอันมี
กำลังและความสุขโดยส่วนเดียว.
จบอรรถกถาอโยนิโสมนสิการสูตร ที่ 11.

12. มัชฌันติกสูตร



ว่าด้วยเวลากำลังเที่ยงวัน



[791] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล.
[792] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น เข้าไปหาถึงที่อยู่
ครั้นแล้วได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนักของภิกษุนั้นว่า
ในกาลกำลังเที่ยงวัน เมื่อนกทั้ง-
หลายจับเจ่าแล้ว ภัยนั้นย่อมปรากฏแก่เรา
ประดุจป่าใหญ่ส่งเสียงอยู่.

ภิกษุตอบว่า
ในกาลกำลังเที่ยง เมื่อนกทั้งหลาย
จับเจ่าแล้ว ความยินดีนั้นย่อมปรากฏ
แก่เรา ประดุจป่าใหญ่ส่งเสียงอยู่ฉะนั้น.


อรรถกถามัชฌันติกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมัชฌันติกสูตรที่ 12. คำใดควรกล่าว คำนั้น
เรากล่าวไว้แล้วในนันทนวรรค ในเทวตาสังยุต.
จบอรรถกถามัชฌันติกสูตร ที่ 12

13. ปากตินทริยสูตร



ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน



[793] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล ล้วนเป็นผู้ฟุ้งซ่าน เห่อเหิม ขี้โอ่ ปากกล้า พูดเหลวไหล มีสติ
ฟั่นเฟือน ไม่รู้สึกตน ไม่หนักแน่น จิตไม่มั่นคง มีอินทรีย์อันเปิดเผย.
[794] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่
ประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้น หวังจะให้พวกเธอสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่
ครั้นแล้วได้กล่าวกะพวกเธอด้วยคาถาว่า