เมนู

ไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไป
เป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้
เป็นสุข บัดนี้ การอยู่ครอบครองของเรา
ไม่มีอีกต่อไป ตัณหาประดุจดังว่าข่ายใน
หมู่เทพของเราก็ไม่มี สงสารคือชาติสิ้น
ไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ ไม่มีอีกต่อไป.


อรรถกถาอนุรุทธสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอนุรุทธสูตร ที่ 6 ต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุราณทุติยิกา คือ อัครมเหสีในอัตภาพก่อน. บทว่า
โสภสิ ได้แก่ เมื่อก่อนก็งาม เดี๋ยวนี้ก็งาม. บทว่า ทุคฺคตา ความว่า
ไปชั่วด้วยคติอันชั่วก็หาไม่. จริงอยู่ เทวกัญญาอยู่ในสุคติย่อมเสวยสมบัติ.
แต่ไปชั่วด้วยคติชั่วทางปฏิบัติ. เพราะว่า เทวกัญญาเหล่านั้นจุติจากสุคตินั้น
แล้ว จะเกิดในนรกก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไปชั่ว. บทว่า ปติฏฺฐิตา
ความว่า จริงอยู่ เมื่อบุคคลตั้งอยู่ในสักกายทิฏฐิย่อมตั้งอยู่ด้วยเหตุ 8 ประการ
คือรักด้วยอำนาจราคะ โกรธด้วยอำนาจโทสะ หลงด้วยอำนาจโมหะ ถือตัว
ด้วยอำนาจมานะ ถือผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ เพิ่มกำลังด้วยอำนาจอนุสัยไม่สิ้นสุด
ด้วยอำนาจแห่งวิจิกิจฉา ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอุทธัจจะ แม้เทวกัญญาเหล่านั้น
ก็ตั้งอยู่อย่างนี้.
บทว่า นรเทวานํ ความว่า ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า
นตฺถิทานิ ความว่า ได้ยินว่า เทพธิดานั้น ได้มีความเสน่หาเป็นกำลังใน

พระเถระ ไม่อาจจะกลับไป. นางมาตามเวลา ปัดกวาดบริเวณ เข้าไปตั้งน้ำ
ข้างหน้า ไม้สีฟัน น้ำฉันน้ำใช้ให้. พระเถระใช้สอยโดยไม่นึก ในวันหนึ่ง
พระเถระมีจีวรเก่าเที่ยวไป ขอท่อนผ้า นางวางผ้าทิพย์ไว้ที่กองขยะแล้ว
หลีกไป. พระเถระเห็นผ้านั้นแล้วยกขึ้นดูเห็นชายผ้า ก็รู้ว่านี่เป็นผ้า คิดว่า
เท่านี้ก็พอ ดังนี้แล้วถือเอา. จีวรของท่านสำเร็จด้วยผ้านั้นเอง. พระเถระ
3 รูป คือพระอัครสาวก 2 รูป และพระอนุรุทธเถระ ช่วยกันทำจีวร.
พระศาสดาทรงร้อยเข็มประทานให้. เมื่อพระอนุรุทธเถระทำจีวรเสร็จแล้ว เที่ยว
ไปบิณฑบาต เทวดาก็ถวายบิณฑบาต. เทพธิดานั้น บางคราวมาสู่สำนัก
พระเถระองค์เดียว บางคราว 2 องค์. แต่ครั้งนั้นมา 3 องค์ เข้าไปหาพระเถระ
ในที่พักกลางวันแล้วกล่าวว่า เราชื่อว่า มีร่างกายน่าพอใจ จะเนรมิตรูปที่ใจ
ปรารถนาแล้ว ๆ. พระเถระคิดว่า เทพธิดาเหล่านี้กล่าวอย่างนี้ เราจะทดลอง
เทพธิดาทั้งปวงจงเขียวเถิด ดังนี้. เทพธิดาเหล่านั้นรู้ใจของพระเถระแล้ว
ก็มีสีเขียวทั้งหมด (ทดลองว่า) มีสีเหลือง สีแดง สีขาว ก็เป็นอย่างนั้น
เหมือนกัน. ลำดับนั้น พวกเขาคิดว่า พระเถระจะพอใจเห็นพวกเราดังนี้แล้ว
ก็เริ่มจับระบำ คือ องค์หนึ่งขับร้อง องค์หนึ่งร่ายรำ องค์หนึ่งดีดนิ้ว.
พระเถระสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้น เทพธิดารู้ว่า พระเถระไม่พอใจ
ดูพวกเรา เมื่อไม่ได้ความเสน่หาหรือความชมเชยก็เบื่อหน่าย เริ่มจะไป.
พระเถระรู้ว่า เขาจะไป จึงกล่าวว่า อย่ามาบ่อย ๆ เลย. เมื่อจะแจ้งความเป็น
พระอรหันต์ จึงกล่าวคาถานี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิกฺขีโณ แปลว่า สิ้นแล้ว. บทว่า ชาติสํสาโร
ความว่า การท่องเที่ยวไป ที่นับว่าเกิดในที่นั้น ๆ.
จบอรรถกถาอนุรุทธสูตร ที่ 6

7. นาคทัตตสูตร



ว่าด้วยเทวดาเตือนพระนาคทัตตะ



[778] สมัยหนึ่ง ท่านพระนาคทัตตะ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง
ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระนาคทัตตะเข้าไปสู่บ้านแต่เช้าตรู่และ
กลับมาหลังเที่ยง.
[779] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู
ใคร่ประโยชน์แก่ท่านพระนาคทัตตะ ใคร่จะให้ท่านสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่
ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า
ท่านนาคทัตตะ ท่านเข้าไปแล้วใน
กาลและกลับมาในกลางวัน (ท่าน) มีปกติ
เที่ยวไปเกินเวลา คลุกคลีกับคฤหัสถ์
พลอยร่วมสุขร่วมทุกขกับเขา เราย่อมกลัว
พระนาคทัตตะ ผู้คะนองสิ้นดี และพัวพัน
ในสกุลทั้งหลาย ท่านอย่าไปสู่อำนาจของ
มัจจุราชผู้มีกำลัง ผู้กระทำซึ่งที่สุดเลย.

ลำดับนั้น ท่านพระนาคทัตตะ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่ง
ความสลดใจแล้วแล.

อรรถกถานาคทัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนาคทัตตสูตรที่ 7 ต่อไปนี้ :-
บทว่า อติกาเลน ความว่า ภิกษุนาคทัตตะ นอนหลับตลอดคืน
ในเวลาใกล้รุ่ง เอาปลายไม้กวาดปัดกวาดเสียหน่อยหนึ่ง ล้างหน้าแล้ว เข้าไปขอ
ข้าวต้มแต่เช้า บทว่า อติทิวา ความว่า รับข้าวต้มไปโรงฉันดื่มแล้ว