เมนู

2. อุปัฏฐานสูตร



เทวดาเตือนภิกษุผู้นอนหลับกลางวัน



[763] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุรูปนั้น ไปนอนหลับในที่พักกลางวัน.
[764] ครั้งนั้น เทวดาที่สิงอยู่ในป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์
แก่ภิกษุรูปนั้น หวังจะให้เธอสลดใจจึงเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า
ท่านจงลุกขึ้นเถิด ภิกษุ ท่านจะต้อง
การอะไรด้วยความหลับ ท่านผู้เร่าร้อน
ด้วยกิเลส อันลูกศรคือตัณหาเสียบแทง
ดิ้นรนอยู่ จะมัวหลับมีประโยชน์อะไร
ท่านออกจากเรือนบวชด้วยความเป็นผู้ไม่มี
เรือนด้วยศรัทธาใด ท่านจงเพิ่มพูนศรัทธา
นั้นเถิด อย่าไปสู่อำนาจของความหลับเลย.

[765] ภิกษุกล่าวตอบว่า
คนเขลาหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์
เหล่าใด กามารมณ์เหล่านั้น ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ความหลับจะแผดเผาบรรพชิต
ผู้พ้นแล้ว ผู้ไม่เกี่ยวข้องในกามารมณ์ซึ่ง
ยังสัตว์ให้ติดอยู่ได้อย่างไร เพราะกำจัด
ฉันทราคะเสียได้ และเพราะก้าวล่วง
อวิชชาเสียได้ ญาณนั้นเป็นของบริสุทธิ์
อย่างยิ่ง ไฉนความหลับจะแผดเผาบรรพ-

ชิตได้ ความหลับจะแผดเผาบรรพชิตผู้
ไม่มีโศก ไม่มีความแค้นใจ เพราะทำลาย
อวิชชาเสียด้วยวิชชา และเพราะอาสวะ
สิ้นไปหมดแล้วอย่างไรได้ ความหลับจะ
แผดเผาบรรพชิตผู้ปรารภความเพียร ผู้มี
ตนอันส่งไปแล้ว ผู้บากบั่นมั่นเป็นนิตย์
ผู้จำนงพระนิพพานอยู่อย่างไรได้.


อรรถกถาอุปัฏฐานสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุปัฏฐานสูตรที่ 2 ต่อไปนี้ :-
บทว่า สุปติ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้เป็นพระขีณาสพท่านไปสู่
หมู่บ้านที่ภิกษาจารในที่ไกล กลับมาแล้ว เก็บบาตรและจีวรไว้ในบรรณศาลา
ลงสระที่เกิดเองในที่ไม่ไกล พอให้ตัวแห้งแล้ว กวาดที่พักกลางวัน ตั้งเตียง
ต่ำไว้ในที่นั้นแล้วหลับ. จริงอยู่ แม้พระขีณาสพก็มีความกระวนกระวายทางกาย
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำที่ใช่อยู่ในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความ
กระวนกระวายทางกายนั้นว่า หลับ. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาเข้า
ใจว่า ภิกษุนี้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วหลับกลางวัน ก็แล
ชื่อว่า การหลับกลางวันนั้นเจริญขึ้น แม้จะยังประโยชน์ที่เป็นไปในปัจจุบัน.
และที่เป็นไปในชาติหน้านั้นให้ฉิบหาย คิดว่า เราจักเตือนท่าน จึงได้กล่าว.
บทว่า อาตุรสฺส ความว่า ความเดือนร้อนมี 3 อย่าง คือ เดือดร้อน
ด้วยความแก่ เดือดร้อนด้วยความเจ็บป่วย เดือนร้อนด้วยกิเลส ท่านกล่าวหมาย