เมนู

อรรรถกถาโมคคัลลานสูตร



ในโมคคัลลานสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมนฺเวสติ ได้แก่แสวงหา คือพิจารณา. บทว่า นคสฺส
ได้แก่ ภูเขา. บทว่า มุนึ ได้แก่พุทธมุนี. บทว่า ทุกฺขสฺส ปารคุํ ได้แก่
ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์. บทว่า สมนฺเวสํ ได้แก่พิจารณาอยู่. บทว่า เอวํ
สพฺพงฺคสมฺปนฺนํ
ได้แก่สมบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า
อเนการสมฺปนฺนํ ได้แก่ ประกอบด้วยคุณมากมาย.
จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ 10

11. คัคคราสูตร



ว่าด้วยพระวังคีสะสรรเสริญพระพุทธเจ้า



[757] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ริมฝั่งสระบัว
ชื่อว่าคัคครา นครจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป
อุบาสกประมาณ 700 คน และเทวดาหลายพันองค์.
นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรื่องล่วงภิกษุ อุบาสกและเทวดา
เหล่านั้น ด้วยพระวรรณะและด้วยพระยศ.
[758] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้านี้แล ประทับอยู่ที่ฝั่งสระบัวชื่อว่าคัคครา นครจัมปา พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป อุบาสกประมาณ 700 คน และเทวดา
หลายพันองค์ นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรื่องล่วงภิกษุ อุบาสกและเทวดา
เหล่านั้น ด้วยพระวรรณะและด้วยพระยศ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาอันสมควรเถิด.

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้อแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะ
ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เนื้อความนั่น จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด
วังคีสะ.
[759] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาอันสมควรว่า
พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งปราศจาก
มลทิน ย่อมแจ่มกระจ่างในท้องฟ้า ซึ่ง
ปราศจากเมฆฝน ฉันใด ข้าแต่พระองค์
ผู้มีพระรัศมีซ่านออกแต่พระสรีรกาย ผู้
เป็นมทามุนี พระองค์ย่อมรุ่งเรืองล่วง
สรรพสัตว์โลก ด้วยพระยศ ฉันนั้น ดังนี้.

อรรถกถาคัคคราสูตร


ในคัคคราสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตฺยาสฺสุทํ ตัดบทเป็น เต อสฺสุทํ. คำว่า อสฺสุทํ เป็น
เพียงนิบาต. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ สีแห่งสรีระ. บทว่า ยเสน ได้แก่
ด้วยบริวาร. บทว่า วีตมโลว ภานุมา ได้แก่ เหมือนพระอาทิตย์ปราศจาก
มลทิน.
จบอรรถกถาคัคคราสูตรที่ 11