เมนู

อรรถกถาปวารณาสูตร



ในปวารณาสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทหุ ตัดเป็น ตสฺมึ อหุ ความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า
อุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำ. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้า
จำอยู่ด้วยศีล หรือด้วยอดข้าว. ก็วันอุโบสถนี้นั้น มี 3 อย่างโดยแยกเป็นวัน
8 ค่ำ วัน 14 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ เพราะฉะนั้น เพื่อจะห้ามวันทั้ง 2 ที่เหลือ
จึงกล่าวว่า ปณฺณรเส. บทว่า ปวารณาย ได้แก่ ออกพรรษาปวารณาแล้ว.
แม้คำว่า วิสุทฺธิปวารณา ดังนี้ ก็เป็นขอของปวารณานั้น. บทว่า นิสินฺโน
โหติ
ความว่า ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันสมควร
แก่กาล แก่บริษัทผู้มาประชุมกัน ทรงสรงพระวรกายที่ซุ้มน้ำ ทรงนุ่งห่ม ทำ
สุคตมหาจีวรเฉวียงบ่า ประทับนั่งชมสิริแห่งมณฑลพระจันทร์ ที่ตั้งขึ้นใน
ปุริมทิศ บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ อิงเสากลาง. บทว่า ตุณฺหีภูตํ ความว่า
เป็นผู้นิ่งแต่ทิศที่ทรงแลดู. ในหมู่ภิกษุเหล่านั้น แม้รูปเดียวก็มิได้มีความคะนอง
มือคะนองเท้า ทั้งหมดเงียบเสียงนั่งด้วยอิริยาบถสงบ. บทว่า อนุวิโลเกตฺวา
ความว่า ทรงใช้พระเนตรที่มีประสาททั้ง 5 ปรากฏชำเลืองดู. ศัพท์ว่า
หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งอุปสรรค. อักษรในคำว่า น จ เม
กิญฺจิ ครหถ
นี้ ใช้ในอรรถแห่งคำถามว่า น จ กิญฺจิ ดังนี้. อธิบายว่า
พวกเธอจะติเตียนอะไร ๆ เราหรือ ถ้าพวกเธอจะติเตียนว่ากล่าว เราต้องการ
ให้พวกเธอว่ากล่าว. ด้วยคำว่า กายิกํ วา วาจสิกํ วา นี้ พระองค์ปวารณา
กายทวารและวจีทวารเท่านั้น มิได้ปวารณาถึงมโนทวาร. เพราะเหตุไร. เพราะ
ปรากฏแล้ว. จริงอยู่ ในกายทวารและวจีทวารมีความผิดปรากฏ ในมโนทวาร