เมนู

7. ปวารณาสูตร



ว่าด้วยการทำปวารณา



[744] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่พระวิหารบุพพาราม
ปราสาทของนางวิสาชาผู้เป็นมารดามิคารเศรษฐี กรุงสาวัตถี กับพระภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม
ประทับนั่งในที่แจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถที่ 15 ค่ำ.
ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูเห็นภิกษุสงฆ์เป็นผู้นิ่งอยู่
แล้ว จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณา
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมไร ๆ ที่เป็นไปทางกายหรือทาง
วาจาของเราบ้างหรือ.
[745] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร
ลุกขึ้นจากอาสนะ. ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ประนมอัญชลีไปทางพระผู้
มีพระภาคเจ้าแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์ทงั้หลายติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงยังทางที่ยังไม่เกิดไห้เกิดขึ้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมให้เกิด
ขึ้นพร้อม ทรงบอกทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรง
ฉลาดในทางข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง
บัดนี้แลขอปวารณาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ทรรงติเตียน
กรรมไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร เราติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็น
ไปทางกายหรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย สารีบุตร เธอเป็นบัณฑิต สารีบุตร
เธอเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญา
ชวนให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาไว เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม เป็นผู้มีปัญญาแหลม
คม สารีบุตร โอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมยังจักรอันพระ-
ราชบิดาให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ ฉันใด สารีบุตร เธอก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน ย่อมยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไป
ตามได้โดยชอบแท้จริง.
ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจา
ของข้าพระองค์ไซร้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ทรง
ติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของภิกษุ 500 รูปเหล่านี้บ้าง
หรือ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมไร ๆ อัน
เป็นไปทางกายหรือทางวาจา ของภิกษุ 500 รูปแม้เหล่านี้ สารีบุตร เพราะ
บรรดาภิกษุ 500 รูปเหล่านั้น ภิกษุ 10 รูป เป็นผู้ได้วิชชา 3 อีก 60 รูป
เป็นผู้ได้อภิญญา 6 อีก 60 รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุตติ ส่วนที่ยังเหลือเป็น
ผู้ได้ปัญญาวิมุตติ.
ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้าง
หนึ่งแล้ว ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์
ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ.
[746] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาทั้งหลาย้อนสมควรว่า
วันนี้เป็นวันอุโบสถที่ 15 ภิกษุ 500
รูป มาประชุมกันเพื่อความบริสุทธิ์ ล้วน
เป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องประกอบและเครื่อง
ผูกได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็น
ผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณอัน
ประเสริฐ พระเจ้าจักพรรดิห้อมล้อมด้วย
อำมาตย์เสด็จเลียบพระมหาอาณาจักรนี้ ซึ่ง
มีสมุทรสาครเป็นขอบเขตโดยรอบ ฉันใด
สาวกทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา ผู้ละ
มฤตยุราเสียได้ ย่อมนั่งห้อมล้อมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ชนะสงความแล้ว เป็นผู้
นำพวกอันหาผู้นำอื่นยิ่งกว่าไม่มี ฉันนั้น
พระสาวกทั้งหมดเป็นบุตรของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ผู้ชั่วช้าไม่มีในสมาคมนี้ ข้าพระ-
องค์ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
หักลูกศรคือตัณหาเสียได้ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์ ดังนี้.

อรรถกถาปวารณาสูตร



ในปวารณาสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทหุ ตัดเป็น ตสฺมึ อหุ ความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า
อุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำ. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้า
จำอยู่ด้วยศีล หรือด้วยอดข้าว. ก็วันอุโบสถนี้นั้น มี 3 อย่างโดยแยกเป็นวัน
8 ค่ำ วัน 14 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ เพราะฉะนั้น เพื่อจะห้ามวันทั้ง 2 ที่เหลือ
จึงกล่าวว่า ปณฺณรเส. บทว่า ปวารณาย ได้แก่ ออกพรรษาปวารณาแล้ว.
แม้คำว่า วิสุทฺธิปวารณา ดังนี้ ก็เป็นขอของปวารณานั้น. บทว่า นิสินฺโน
โหติ
ความว่า ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันสมควร
แก่กาล แก่บริษัทผู้มาประชุมกัน ทรงสรงพระวรกายที่ซุ้มน้ำ ทรงนุ่งห่ม ทำ
สุคตมหาจีวรเฉวียงบ่า ประทับนั่งชมสิริแห่งมณฑลพระจันทร์ ที่ตั้งขึ้นใน
ปุริมทิศ บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ อิงเสากลาง. บทว่า ตุณฺหีภูตํ ความว่า
เป็นผู้นิ่งแต่ทิศที่ทรงแลดู. ในหมู่ภิกษุเหล่านั้น แม้รูปเดียวก็มิได้มีความคะนอง
มือคะนองเท้า ทั้งหมดเงียบเสียงนั่งด้วยอิริยาบถสงบ. บทว่า อนุวิโลเกตฺวา
ความว่า ทรงใช้พระเนตรที่มีประสาททั้ง 5 ปรากฏชำเลืองดู. ศัพท์ว่า
หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งอุปสรรค. อักษรในคำว่า น จ เม
กิญฺจิ ครหถ
นี้ ใช้ในอรรถแห่งคำถามว่า น จ กิญฺจิ ดังนี้. อธิบายว่า
พวกเธอจะติเตียนอะไร ๆ เราหรือ ถ้าพวกเธอจะติเตียนว่ากล่าว เราต้องการ
ให้พวกเธอว่ากล่าว. ด้วยคำว่า กายิกํ วา วาจสิกํ วา นี้ พระองค์ปวารณา
กายทวารและวจีทวารเท่านั้น มิได้ปวารณาถึงมโนทวาร. เพราะเหตุไร. เพราะ
ปรากฏแล้ว. จริงอยู่ ในกายทวารและวจีทวารมีความผิดปรากฏ ในมโนทวาร