เมนู

บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุ
ยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียด-
เบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคล
พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลาย
ชื่นชมแล้ว ไม่ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย
กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชนเหล่าอื่น
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็น
ของมีมาแต่เก่าก่อน สัตบุรุษทั้งหลาย
เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ที่เป็นอรรถ
และเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจา
ใด ซึ่งเป็นวาจาเกษม เพื่อให้ถึงพระ-
นิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจา
นั้นแลเป็นสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ดังนี้.


อรรถกถาสุภาสิตสูตร



ในสุภาสิตสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า องฺเคหิ ได้แก่ ด้วยเหตุหรือด้วยส่วนทั้งหลาย. จริงอยู่
เหตุแห่งวาจาเป็นสุภาษิต 4 มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากพูดคำเท็จเป็นต้น
หรือส่วน 4 มีสัจจวาจาเป็นต้น. ก็บทว่า จตูหิ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงใน
องฺค ศัพท์ ซึ่งแปลว่าเหตุ เป็นตติยาวิภัตติ ลงใน องฺค ศัพท์ ซึ่งแปลว่า
ส่วน. บทว่า สมนฺนาคตา ได้แก่ มาตามพร้อมแล้ว คือเป็นไปแล้วและ