เมนู

เก้าอย่างไม่ให้เหลือ. บทว่า วิชฺชายนฺตกโร ได้แก่ ผู้กระทำที่สุดแห่งกิเลส
ทั้งหลายด้วยวิชชา. บทวา สมิตาวี ได้แก่ เป็นผู้สงบเพราะกิเลสมีราคะ
เป็นต้นสงบ.
จบอรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตรที่ 3

4. อานันทสูตร



ว่าด้วยวิธีแก้จิตกระสัน



[735] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร
เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ
ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่าน
พระวังคีสะ.
[736] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ด้วย
คาถาว่า
ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ จิต
ของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่านจงบอกวิธี
เป็นเครื่องดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่
ข้าพเจ้าด้วยเถิด โคดม.

[737] ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า
จิตของท่านรุ่มร่อน เพราะสัญญา
อันวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิตอันสวยงาม
อันเกี่ยวด้วยราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขาร

ทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดย
เป็นทุกข์ และอย่าเห็นโดยความเป็นตน
ท่านจงดับราคะอันแรงกล้า ท่านจงอย่าถูก
ราคะเผาผลาญบ่อย ๆ ท่านจงเจริญจิตใน
อสุภกัมมัฏฐาน ให้เป็นจิตมีอารมณ์เป็น
อันเดียวตั้งมั่นด้วยดีเถิด ท่านจงมีการ-
คตาสติ ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความหน่าย
ท่านจงเจริญความไม่มีนิมิต และจงถอน
มานานุสัยเสีย เพราะการรู้เท่าถึงมานะ
ท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้.


อรรถกถาอานันทสูตร



ในอานันทสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราโค เป็นต้น ความว่า ท่านพระอานนท์เป็นผู้มีปัญญามาก
อบรมตนดีแล้ว พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชานิมนต์ท่านให้นั่ง
ภายในนิเวศน์. พวกสตรีประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เข้าไปหาพระเถระ
ไหว้แล้วพัดด้วยพัดใบตาล. เข้าไปนั่งถามปัญหา ฟังธรรม. ในที่นั้น
เมื่อท่านพระวังคีสะ บวชใหม่ ไม่อาจที่จะกำหนดอารมณ์ได้ ความกำหนัด
ในรูปารมณ์คือสตรีรบกวนจิต. เพราะบวชด้วยศรัทธา ท่านจึงเป็นคนตรง
คิดว่า ความกำหนัดของเรานี้กำเริบมากขึ้น พึงทำประโยชน์ปัจจุบันและ
ประโยชน์ภายหน้าให้เสียไป. นั่งอยู่ถัดกันนั่นแหละ เมื่อจะเปิดเผยตนแก่
พระเถระ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กามราเคน ดังนี้.