เมนู

ไม่ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ถึงบทอันระงับ
แล้ว อาศัยพระนิพพาน เป็นผู้ดับกิเลสได้
แล้ว ย่อมรอคอยกาล (เป็นที่ปรินิพพาน)
ดังนี้.


อรรถกถาอรติสูตร



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิกฺขมติ ได้แก่ออกจากวิหาร. บทว่า อปรชฺชุ วา กาเล
ได้แก่ในวันที่ 2 หรือในเวลาภิกษาจาร. ได้ยินว่า พระเถระนั้นเคารพใน
วิหาร. บทว่า อรติญฺจ รติญฺจ ได้แก่ความไม่ยินดีในศาสนา และ
ความยินดีในกามคุณทั้งหลาย. บทว่า สพฺพโส เคหสิตญฺจ วิตกฺกํ
ความว่า และละวิตกลามกซึ่งอาศัยเรือนในกามคุณห้าโดยอาการทั้งปวง. บทว่า
วนถํ ได้แก่ป่าใหญ่คือกิเลส. บทว่า กุหิญฺจิ ได้แก่ในอารมณ์ไร ๆ. บทว่า
นิพฺพนโถ ได้แก่ผู้ปราศจากป่าคือกิเลส. บทว่า อรโต ได้แก่เว้นจาก
ความยินดีด้วยอำนาจตัณหา.
บทว่า ปฐวิญฺจ เวหาสํ ความว่า รูปที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ได้แก่
รูปหญิงชาย ผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น และรูปที่ตั้งอยู่ในอากาศมีแสงจันทร์
และอาทิตย์เป็นต้น. บทว่า รูปคตํ ได้แก่รูปนั่นเอง บทว่า ชคโตคธํ
ได้แก่รูปที่อยู่ในแผ่นดิน อธิบายว่า ถึงนาคพิภพภายในแผ่นดิน. บทว่า
ปริชิยฺยติ ได้แก่ทรุดโทรม. บทว่า สพฺพมนิจฺจํ ความว่า นั้นไม่เที่ยง
ทั้งหมด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นี้เป็นมหาวิปัสสนาของพระเถระ. บทว่า

เอวํ สเมจฺจ ได้แก่มารวมกันอย่างนี้. บทว่า จรนฺติ มุตตฺตา ความว่า
ผู้มีอัตภาพอันรู้แจ้งแล้วอยู่.
บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ขันธ์ กิเลส และอภิสังขาร. บทว่า คธิตา
ได้แก่ติดอยู่แล้ว. บทว่า ทิฏฺฐสุเต ได้แก่ในรูปที่จักษุเห็นแล้ว ในเสียงที่
โสตะได้ยินแล้ว. กลิ่นและรสท่านถือเอาด้วยบทว่า ปฏิฆะ โผฏฐัพพารมณ์
ท่านถือเอาด้วยบทว่า มุตะ ในคำว่า ปฏิเฆ จ มุเต จ นี้. บทว่า
โย เอตฺถ น ลิมฺปติ ความว่า บุคคลใดไม่ข้องติดอยู่ในกามคุณ 5
เหล่านี้ด้วยกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.
บทว่า อถ สฏฺฐิสิตา สวิตกฺกา ปุถุชฺชนตาย อธมฺมนิวิฏฺฐา
ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น วิตกฝ่ายอธรรมเป็นอันมาก ที่อาศัยอารมณ์ 6
ก็ตั้งลงในหมู่ชน. บทว่า น จ วฏฺฏคตสฺส กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึง
ตกไปในวนคือ กิเลสในที่ไหน ๆ ด้วยอำนาจวิตกฝ่ายอธรรมเหล่านั้น. บทว่า
โน ปน ทุฏฺฐุลฺลภาณี ความว่า ไม่พึงเป็นผู้กล่าววาจาชั่วหยาบ. บทว่า
ส ภิกฺขุ ความว่า ผู้มีจิตอย่างนี้นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นภิกษุ.
บทว่า ทพฺโพ ได้แก่บัณฑิตผู้มีชาติแห่งผู้มีปัญญา. บทว่า
จิรรตฺตสมาหิโต ได้แก่ผู้มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน. บทว่า นิปโก ได้แก่
ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องรักษาตน คือมีปัญญาแก่กล้า. บทว่า อปิหาลุ
ได้แก่ผู้ปราศจากตัณหา. บทว่า สนฺตํ ปทํ ได้แก่พระนิพพาน. บทว่า
อชฺฌคมา มุนิ ได้แก่มุนีผู้บรรลุแล้ว. บทว่า ปฏิจฺจ ปรินิพฺพุโต
กงฺขติ กาลํ
ความว่า อาศัยพระนิพพาน ดับด้วยการดับกิเลสรอกาลเป็นที่
ปรินิพพาน.
จบอรรถกถาอรติสูตรที่ 2

3. เปสลาติมัญญนาสูตร



ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีล



[733] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี
กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้อุปัชฌาย์ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระวังคีสะนึก
ดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน
ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ
ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้ว หนอ
ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน ดังนี้.
[734] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะยังความวิปฏิสารให้เกิดขึ้น
แก่ตนด้วยตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนท่านโคดม ท่านจงละมานะ
เสีย ท่านจงละหนทางแห่งมานะในโลก
นี้เสีย ท่านจงเป็นผู้ละหนทางแห่งมานะ
ในโลกนี้เสีย อย่าให้มีส่วนเหลือได้
(เพราะ) หมู่สัตว์ผู้อันความลบหลู่ทำให้
มัวหมองแล้ว ย่อมเป็นผู้มีความเดือดร้อน
ตลอดกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้อันมานะ
กำจัดแล้วย่อมตกนรก ชนทั้งหลายผู้อัน
มานะกำจัดแล้ว เข้าถึงนรกแล้ว ย่อม
เศร้าโศกสิ้นกาลนาน ภิกษุผู้ชำนะกิเลส
ด้วยมรรคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมไม่เศร้า-
โศกเลยในกาลไหน ๆ ย่อมได้รับเกียรติคุณ