เมนู

วังคีสสังยุต



1. นิกขันตสูตร



ว่าด้วยบรรเทาความกระสัน



[727] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะ อยู่ทีอัตตาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี กับท่าน
พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ก็สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่
บวชได้ไม่นาน ถูกละไว้ให้เฝ้าวิหาร.
[728] ครั้งนั้น สตรีเป็นอันมาก ประดับประดาร่างกายแล้ว เข้าไป
ยังอารามเที่ยวดูที่อยู่ของพวกภิกษุ.
ครั้งนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิต
ของท่านพระวังคีสะ เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น.
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ
ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่
เราเกิดความกระสัน ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เหตุที่คนอื่น ๆ จะพึง
บรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่
บังเกิดขึ้นแล้วนี้ เราจะได้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความกระสัน
เสียแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด.
[729] ในกาลนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันเสียแล้ว
ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

วิตกทั้งหลายเป็นเหตุให้คะนอง
(เกิดมา) แต่ฝ่ายธรรมดำเหล่านี้ ย่อมวิ่ง
เข้ามาสู่เราผู้ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่
มีเหย้าเรือนแล้ว.
บุตรของคนชั้นสูงทั้งหลาย ผู้มีฝีมือ
อันเชี่ยวชาญ ศึกษาดีแล้ว ทรงธนูไว้
มั่นคง พึงทำคนที่ไม่ยอมหนีมีจำนวนตั้ง
พัน ๆ ให้กระจัดกระจายไปรอบด้าน
(ฉันใด) ถึงแม้ว่าสตรีมากยิ่งกว่านี้จักมา
สตรีเหล่านั้นก็จักเบียดเบียนเรา ผู้ตั้งมั่น
แล้วในธรรมของตนไม่ได้เลย (ฉันนั้น)
เพราะว่า เราได้ฟังทางเป็นที่ไปสู่พระ-
นิพพานนี้ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระ
พุทธเจ้า ผู้เป็นเฝาพันธุ์พระอาทิตย์แล้ว
ใจของเรายินดีแล้วในทางเป็นที่ไปสู่
พระนิพพานนั้น.
แน่ะมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านจะเข้ามา
หาเราผู้อยู่อย่างนี้ แนะมฤตยุราช เราจัก
ทำโดยวิธีที่ท่านจักไม่เห็นแม้ซึ่งทางของ
เราได้เลย ดังนี้.

วังคีสสังยุต

อรรถกถานิกขันตสูตร



ในนิกขันตสูตรที่ 1 วังคีสสังยุค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อคฺคาฬเว เจติเย ได้แก่ ที่อัคคเจดีย์เมืองอาฬวี. เมื่อ
พระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้มีเจดีย์เป็นอันมาก อันเป็นถิ่นของยักษ์และ
นาคเป็นต้น มีอัคคาฬวเจดีย์ และโคตมกเจดีย์เป็นต้น . เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ
อุบัติขึ้นแล้ว มนุษย์ทั้งหลายพากันรื้อเจดีย์เหล่านั้นสร้างเป็นวิหาร. เจดีย์
เหล่านั้นนั่นแล จึงเกิดเป็นชื่อของคนเหล่านั้น . บทว่า นิโคฺรธกปฺเปน
ได้แก่ ด้วยพระกัปปเถระผู้อยู่ที่โคนต้นไทร. บทว่า โอหิยฺยโก ได้แก่
ถูกเหลือไว้ บทว่า วิหารปาโล ความว่า ได้ยินว่า ในครั้งนั้นท่านยังไม่ได้
พรรษา ไม่เข้าใจในการรับบาตรจีวร. ลำดับนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย จึงกล่าว
กะท่านว่า อาวุโส ท่านจงนั่งดูแลร่ม รองเท้าและไม้เท้าเป็นต้น ตั้งให้เป็น
ผู้เฝ้าวิหารแล้วเข้าไปบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิหารปาโล.
บทว่า สมลงฺกริตฺวา ความว่า ประดับด้วยเครื่องประดับอันเหมาะสมแก่
สมบัติของตน บทว่า จิตฺตํ อนุทฺธํเสติ ความว่า กำจัดคือทำกุศลจิตให้
พินาศ. บทว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา ความว่า เมื่อราคะเกิดขึ้นจะได้เหตุนั้น
แต่ที่ไหน. บทว่า ยํ เม ปเร ความว่า เพราะเหตุใดบุคคลหรือธรรมอย่างอื่น
พึงบรรเทาความกระสัน อยากสึกแล้ว ทำความยินดีในพรหมจรรย์ให้เกิดขึ้น
แก่เราในบัดนี้เล่า แม้อาจารย์และพระอุปัชฌาย์ก็ทิ้งเราไว้ในวิหารแล้วไปเสีย.
บทว่า อคารสฺมา ได้แก่ ออกจากเรือน. บทว่า อนคาริยํ ความว่า
เข้าถึงบรรพชา. บทว่า กณฺหโต ความว่า แล่นมาจากธรรมฝ่ายดำ คือ