เมนู

12. โขมทุสสสูตร



ว่าด้วยธรรมของสภา



[724] ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่า โขมทุสสะ
ของเจ้าศากยะ ในแคว้นสักกะ.
ครั้งในเวลาเช้า พระผู้มีพระเจ้าทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม.
สมัยนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวโชมทุสสนิคม ประชุมกันอยู่ใน
สภาด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนกำลังตกอยู่ประปราย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังสภานั้น.
พราหมณ์และคฤหบดีชาวโชมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และ
คนพวกไหนรู้จักธรรมของสภา.
[725] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดี
ชาวโขมทุสสนิคม ด้วยพระคาถาว่า
ในที่ใดไม่มีคนสงบ ที่นั้นไม่ชื่อว่า
สภา คนเหล่าไดไม่กล่าวธรรม คนเหล่า
นั้นไม่ชื่อว่าคนสงบ คนละราคะโทสะ
และโมหะแล้วกล่าวธรรมอยู่ คนเหล่านั้น
ชื่อว่าคนสงบ.

[726] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และ
คฤหบดีชาวโขมทุสสนิคม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคน
มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญกับ
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมทรงจำพวกข้าพระองค์
ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้.
จบโขมทุสสสูตรที่ 12
จบอุปาสกวรรคที่ 2


อรรถกถาโขมทุสสสูตร



ในโขมทุสสสูตรที่ 12 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โขมทุสฺสนฺนาม ได้แก่ นิคมที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมีผ้า
ไหมมาก. บทว่า สภายํ ได้แก่ ในศาลา. บทว่า ผุสายติ ความว่า หลั่ง
หยาดน้ำคือตก ได้ยินว่า พระศาสดา มีพระประสงค์จะเข้าสู่สภานั้นทรงดำริว่า
เมื่อเราเข้าไปด้วยอาการอย่างนี้ จะไม่มีความสะดวก เพราะเหตุนั้น เราอาศัย
เหตุอย่างหนึ่งแล้วจักเข้าไป ดังนี้แล้ว ทรงบันดาลให้เกิดฝนศกด้วยการ
อธิษฐาน. บทว่า สภาธมฺมํ ความว่า ได้ยินว่า การไม่ทำชนผู้นั่งอย่างสบาย
ให้ลุกขึ้นแล้วเข้าไปข้างหนึ่ง และการไม่ทำมหาชนให้เข้าไปตรง ๆ ที่เดียว
ชื่อว่า สภาธรรมของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ตรงไปทีเดียว. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นโกรธ กล่าวเย้ยหยัน