เมนู

11. สังครวสูตร



ว่าด้วยการอาบน้ำล้างบาป



[719] สาวัตถีนิทาน.
สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความ
บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำชำระ-
ร่างกายทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วกลับมาเวลา
หลังอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง.
[720] ท่านพระอานนท์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี
เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน่า ประพฤติ
การลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ข้าพระองค์ขอโอกาส
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย ด้วยความ
อนุเคราะห์เถิด พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย แล้วประทับนั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดไว้.
[721] ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยกันตามธรรมเนียม
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามสังครวพราหมณ์ ซึ่งนั่งอยู่ ณ ส่วนข้าง
หนึ่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ เขาว่า ท่านมีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนา
ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ท่านประพฤติการลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็น
เวลาเช้าเป็นนิตย์ จริงหรือ.
สังครวพราหมณ์กราบทูลว่า จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดมผู้เจริญ.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงได้มีลัทธิถือ
ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำ
ชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์.
ส. ท่านพระโคดม บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำในเวลากลางวัน ข้า
พระองค์ลอยบาปกรรมนั้นเสียด้วยการอาบน้ำในเวลาเย็น บาปกรรมใดที่
ข้าพระองค์ทำในเวลากลางคืน ข้าพระองค์ลอยบาปกรรมนั้นเสียด้วยการอาบน้ำ
ในเวลาเช้า ท่านพระโคดม ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้แหละ จึงได้ชื่อ
ว่า มีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติ
การลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นในเวลาเช้าเป็นนิตย์.
[722] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ห้วงน้ำคือธรรมมี
ศีลเป็นท่า ไม่ขุ่น สัตบุรุษสรรเสริญต่อ
สัตบุรุษ ซึ่งเป็นที่ที่บุคคลผู้ถึงเวทอาบ
แล้ว บุคคลผู้มีตัวไม่เปียกเท่านั้นจึงจะข้าม
ถึงฝั่งได้.

[723] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว สังครวพราหมณ์ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย
อเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่อง
ประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม
ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอ
พระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาสังครวสูตร



ในสังครวสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปจฺเจติ ได้แก่ ย่อมปรารถนา คือ ย่อมต้องการ. คฤหัสถ์
อ้อนวอนอยู่ จึงกล่าวว่า สาธุ ภนฺเต. ได้ยินว่า คฤหัสถ์นั่นเป็นสหายของ
พระเถระ. เพราะฉะนั้น พระเถระทูลขอร้องด้วยคิดว่า ผู้เป็นคนกำพร้าแม้ได้เรา
เป็นสหาย อย่าได้ถือมิจฉาที่ทิฏฐิแออัดอยู่ในอบายเลย. อีกนัยหนึ่ง พระเถระเข้า
ใจอยู่ว่า คฤหัสถ์ผู้นี้ มีบริวารมาก เมื่อเขาเลื่อมใส แล้ว ตระกูล 500 ตระกูล
จักประพฤติตามคำสั่งสอน จงได้ทูลขอร้อง. บทว่า อตฺถวสํ ได้แก่ อานิสงส์
ของประโยชน์ คือ เหตุของประโยชน์. บทว่า ปาปํ ได้แก่ อกุศลกรรมมี
ปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า ปวาเหมิ ได้แก่ เราลงน้ำแค่คอแล้วให้ลอยไป
คือ ให้หนีไป. คาถาว่า ธมฺโม มีใจความดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสังครวสูตรที่ 11