เมนู

[717] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลหาชื่อว่าเป็นภิกษุเพียงด้วย
การขอคนอื่นไม่ บุคคลสมาทานธรรม
เป็นพิษ หาชื่อว่าเป็นภิกษุได้ไม่ ผู้ใดใน
โลกนี้ละบุญและบาปเสียแล้ว ประพฤติ
พรหมจรรย์ด้วยถารพิจารณา ผู้นั้นแล
ชื่อว่าเป็น ภิกษุ.

[718] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกขกพราหมณ์ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่าน
พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย
ปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่อง
ประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม
ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมเเละพระสงฆ์เป็นสรณะตลอด
ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาภิกขกสูตร



ในภิกขกสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิธ ได้แก่ ในความเป็นภิกษุนี้นั่นแล. บทว่า วิสํ ธมฺมํ
ได้แก่ อกุศลธรรมที่มีกลิ่นเหม็น. บทว่า วาเหตฺวา ได้แก่ ละได้ด้วยอรหัต
มรรค. บทว่า สงฺขาย ได้แก่ญาณ. บทว่า ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ความ
ว่า ผู้นั้นแล ท่านเรียกชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสแล.
จบอรรถกถาภิกขกสูตรที่ 10

11. สังครวสูตร



ว่าด้วยการอาบน้ำล้างบาป



[719] สาวัตถีนิทาน.
สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความ
บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำชำระ-
ร่างกายทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วกลับมาเวลา
หลังอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง.
[720] ท่านพระอานนท์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี
เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน่า ประพฤติ
การลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ข้าพระองค์ขอโอกาส
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย ด้วยความ
อนุเคราะห์เถิด พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย แล้วประทับนั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดไว้.
[721] ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยกันตามธรรมเนียม
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.