เมนู

5. อหิงสกสูตร



ว่าด้วยผู้ควรชื่อว่าอหิงสกะ



[641] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้นแล อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้นผ่าน
การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่า
อหิงสกะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าอหิงสกะ.
[642] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ถ้าว่าท่านมีชื่อว่าอหิงสกะ ท่านพึง
เป็นผู้ไม่เบียดเบียนด้วยกายด้วยวาจาและ
ด้วยใจ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อหิงสกะ
โดยแท้ เพราะไม่เบียดเบียนซึ่งผู้อื่น.

[643] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อหิงสกภารทวาช-
พราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต
ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ฯลฯ ก็แหละพระอหิงสกภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ใน
บรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาอหิงสกสูตร



ในอหิงสกสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อหึสกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้น ชื่อว่า อหิงสก
ภารทวาชะ. แต่พราหมณ์นั้น ถามอหญิงสกปัญหา. เพราะเหตุนั้น พระสังคีติ-
กาจารย์ทั้งหลายจึงได้ตั้งชื่อเขาเช่นนั้น. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์นั้นว่าโดยชื่อ
ชื่อว่า อหิงสกะ ว่าโดยโคตร ชื่อว่า ภารทวาชะ. บทว่า อหึสกาหํ
ความว่า เขากล่าวว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ รู้จักเราว่า เราชื่อว่า อหิงสกะ.
บทว่า ตถา จสฺส ตัดบทเป็น ตถา เจ อสฺส ความว่า ท่านพึงกล่าว.
บทว่า น หึสติ ได้แก่ ไม่เบียดเบียน คือไม่ให้ถึงความลำบาก.
จบอรรถกถาอหิงสกสูตรที่ 5

6. ชฏาสูตร



ว่าด้วยตัณหาพายุ่ง



[644] สาวัตถีนีทาน.
ครั้งนั้นแล ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่
ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.