เมนู

7. สุปปติสูตร



ว่าด้วยสำเร็จสีหไสยาสน์



[434] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้งเกือบตลอดราตรี
ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหารทรงสำเร็จสีหไสยาสน์
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลี่อมพระบาทด้วยพระบาท ทรงมีพระสติ-
สัมปชัญญะ ทรงทำความหมายในอันจะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย.
[435] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า
ท่านหลับหรือ ท่านหลับเสีย
ทำไมนะ ท่านหลับเป็นตายเทียวหรือนี่
ท่านหลับโดยสำคัญว่า เรือนว่างเปล่า
กระนั้นหรือ เมื่อตะวันโด่งแล้ว ท่านยัง
จะหลับอยู่หรือนี่.

[436] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีตัณหาดุจข่าย
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ สำหรับจะนำ
ไปสู่ภพไหน ๆ ย่อมบรรทมหลับ เพราะ

ความสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งปวง กงการอะไร
ของท่านในเรื่องนี้เล่ามารเอ๋ย.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก
เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาสุปปติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสุปปติสูตรที่ 7 ต่อไป :-
บทว่า ปาเท ปกฺขาเลตฺวา ได้แก่ ทรงล้างพระบาทเพื่อให้ยึดถือ
ธรรมเนียมไว้. ก็ผงธุลี ย่อมไม่ติดในพระสีรระของพระพุทธะทั้งหลาย. แม้
แต่น้ำก็กลิ้งไปเหมือนน้ำที่ใส่ในใบบัว. อีกนัยหนึ่ง การล้างเท้าในที่ล้างเท้าเข้า
บ้าน เป็นธรรมเนียมของนักบวชทั้งหลาย ธรรมดาพระพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่า
ไม่ทรงทำลายธรรมเนียมในข้อนั้น ก็พระพุทธะทั้งหลาย ตั้งอยู่ในหัวข้อแห่ง
ธรรมเนียมย่อมล้างพระบาท. จริงอยู่ ถ้าพระตถาคต ไม่พึงสรงน้ำไม่ล้าง
พระบาทไซร้ คนทั้งหลายก็จะพึงพูดว่า ผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงละเลยกิริยาของมนุษย์ จึงทรงล้างพระบาท. บทว่า
สโต สมฺปชาโน ได้แก่ทรงประกอบด้วยสติสัมชัญญะ ที่กำหนดเอาความ
หลับเป็นอารมณ์. ด้วยบทว่า อุปสงฺกมิ ท่านกล่าวว่า มารคิดว่า พระสมณ
โคดม ทรงจงกรมในที่แจ้งตลอดคืนยังรุ่ง แล้วเข้าพระคันธกุฏี บรรทม คง
จักบรรทมเป็นสุขอย่างเหลือเกิน จำเราจักแกล้งเธอ แล้วจึงไปเฝ้า.
ด้วยบทว่า กึ โสปฺปสิ มารกล่าวว่า ท่านหลับหรือ การหลับของ
ท่านนี้เป็นอย่างไร. บทว่า กึ นุ โสปฺปสิ ได้แก่ เพราะเหตุไร ท่านจึง