เมนู

ฆตฺวา เป็นต้น แล้วคิดว่า ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราชอบใจการฆ่า
บุคคลชื่อโน้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักข่มท่านว่า ท่านปรารถนาจะฆ่าเหล่าชน
ที่ท่านไม่ชอบใจ ท่านเกิดมาเพื่อจะฆ่าโลก ความเป็นสมณะของท่านจะมี
ประโยชน์อะไร ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราไม่ชอบใจการฆ่าใคร ๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะข่มท่านว่า ท่านไม่ปรารถนาจะฆ่ากิเลสมีราคะเป็นต้น
เพราะเหตุไร ท่านจึงเป็นสมณะเที่ยวไป ดังนั้น ปัญหา 2 เงื่อนนี้ พระ-
สมณโคดมก็จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป. บทว่า สมฺโมทิ
ความว่า พราหมณ์ไม่แสดงความโกรธ เพราะคนเป็นบัณฑิต จึงกล่าวถ้อยคำ
ไพเราะชื่นชมกัน. ท่านกล่าวปัญหาไว้ในเทวตาสังยุต. แม้คำที่เหลือท่านกล่าว
ไว้พิสดารแล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาธนัญชานีสูตรที่ 1

2. อักโกสกสูตร



ว่าด้วยพระพุทธเจ้าไม่รับคำด่าของพราหมณ์



[631] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
อักโกสกภารทวาชพรหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณภารทวาช
โคตรออกจากเรือบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้
ก็โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่าบริภาษ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ.

[632] เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน
ย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก
ของท่าน ย่อมมาบ้างไหม.
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและ
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและ
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่.
อ. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของ
ดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบาง
คราว.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก
เหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร.
อ. พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก
เหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระ
อย่างเดิม.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่าน
โกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการ
ด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่าน
ผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว แล้ว
ตรัสต่อไปว่า ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้
โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า

ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมการทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบ
ด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้
เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว.
อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้
ว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ
จึงยังโกรธอยู่เล่า.
[633] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็น
อยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ตอบ
สงบ คงที่อยู่ ความโกรธแล้ว ผู้นั้นเป็น
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ แล้วผู้นั้นเป็น
ผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการ
โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล
ผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอัน
บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ
แล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อม
ประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่
ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษา
ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและ
ของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดใน
ธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา
ดังนี้.

[634] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเจ้าอย่างนี้แล้ว อักโกสกภาร-
ทาวชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปฉฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอ
ถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์
พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านอักโกสกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีก
ไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็
กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
รู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล
กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละ
ท่านพระอักโกสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาอักโกสกสูตร



ในอักโกสกสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อกฺโกสกภารทฺวาโช ได้แก่พราหมณ์นั้น ชื่อว่าภารทวาชะ.
ก็พราหมณ์นั้นได้มาด่าพระตถาคตด้วยคาถาประมาณ 500 เพราะเหตุนั้น พระ
สังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงตั้งชื่อว่า อักโกสกภารทวาชะ. บทว่า กุปิโต อนตฺ-
ตมโน
ความว่า โกรธและไม่พอใจด้วยเคืองว่าพระสมณโคดมให้พี่ชายของ
เราบวช ทำให้เสื่อมเสียให้แตกเป็นฝักฝ่าย. บทว่า อกฺโกสติ ความว่า ด่า