เมนู

อรรถกถาสัปปสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสัปปสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า โสณฺฑิกา กิลญฺชํ ได้แก่ เสื่อลำแพน สำหรับเกลี่ยแป้ง
ของพวกทำสุรา. บทว่า โกสลิกา กํสจาฏิ ได้แก่ ภาชนะใส่ของเสวยขนาด
ล้อรถ ของพระเจ้าโกศล. บทว่า คฬคฬายนฺเต ได้แก่ ออกเสียงดัง บทว่า
กมฺมารคคฺคริยา ได้แก่ สูบเตาไฟของช่างทอง. บทว่า ธมมานาย ได้แก่
ให้เต็มด้วยลมในกระสอบหนัง. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า มารคิดว่า
พระสมณโคดม ประกอบความเพียรเนือง ๆ นั่งเป็นสุข จำเราจักกระทบ
กระเทียมเขาดู แล้วเนรมิตอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้วจึงเดินด้อม ๆ ณ
ที่ทรงทำความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นด้วยแสงฟ้าแลบ ทรงนึกว่า
สัตว์ ผู้นี้เป็นใครกันหนอ ก็ทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมาร ดังนี้
บทว่า สุญฺญเคหานิ แปลว่า เรือนว่าง. บทว่า เสยฺยา ความว่า
ผู้ใดเสพเรือนว่างทั้งหลาย เพื่อจะนอน คือเพื่อต้องการอย่างนี้ว่า เราจักยืน
จักเดิน จักนั่ง จักนอน. บทว่า โส มุนิ อตฺตสญฺญโต ความว่า
พุทธมุนีใด สำรวมตัวแล้ว เพราะไม่มีการคะนองมือและเท้า. บทว่า โวสฺสชฺช
จเรยฺย ตตฺถ โส
ความว่า พุทธมุนีนั้น สละความอาลัยเยื่อใยใน
อัตภาพนั้น พึงจาริกไป. บทว่า ปฏิรูปํ หิ ตถาวิธสฺส ตํ ความว่า
ความสละความเยื่อใยในอัตภาพนั้นจาริกไป ของพุทธมุนี ผู้เช่นนั้น คือผู้ดำรง
อยู่อย่างนั้น ก็เหมาะ ก็ชอบ ก็สมควร.
บทว่า จรกา ได้แก่ สัตว์ผู้สัญจรไปมีสีหะและเสือเป็นต้น . บทว่า
เภรวา ได้แก่ สภาพที่น่ากลัว ทั้งมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ บรรดาสภาพ

ที่น่ากลัวเหล่านั้น สัตว์มีสีหะ และเสือเป็นต้น ชื่อว่า. สภาพที่น่ากลัวมีวิญญาณ
ตอไม้และจอมปลวกเป็นต้น ในเวลากลางคืน ชื่อว่า สภาพที่น่ากลัวไม่มีวิญญาณ
เป็นความจริง สภาพที่น่ากลัวแม้เหล่านั้น ย่อมปรากฏเป็นประหนึ่งยักษ์ใน
เวลานั้น เชือกและเถาวัลย์เป็นต้น ก็ปรากฏประหนึ่งงู. บทว่า ตตฺถ ความว่า
พุทธมุนี เข้าไปสู่เรือนว่าง ไม่ทำอาการแม้เพียงขนลุก ในสภาพที่น่ากลัว
เหล่านั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการกำหนดสิ่งที่มิใช่ฐานะ
จึงตรัสว่า นภํ ผเลยฺย เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผเลยฺย ได้แก่
ท้องฟ้าจะพึงแตกเป็นริ้ว ๆ ประหนึ่งตีนกา. บทว่า จเลยฺย ได้แก่ แผ่นดิน
จะพึงไหว เหมือนหยาดน้ำบนใบบัวที่ต้องลม. บทว่า สลฺลมฺปิ เจ อุรสกํ
ปสฺเสยฺยุํ
ความว่า แม้ว่าคนทั้งหลาย จะพึงจ่อหอกและหลาวอันคมไวั
ตรงอก. บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในเพราะอุปธิ คือขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า
ตาณํ น กโรนฺติ ความว่า คนทั้งหลาย เมื่อเขาจ่อหลาวอันคมไว้ตรงอก
ก็หนีเข้าระหว่างที่กำบังและภายในกระท่อมเป็นต้น เพราะความกลัว ชื่อว่า
กระทำการป้องกัน. แต่พระพุทธะทั้งหลาย ไม่กระทำการป้องกันเห็นปานนั้น
เพราะท่านเพิกถอนความกลัวหมดทุกอย่างแล้ว.
จบอรรถกถาสัปปสูตรที่ 6

7. สุปปติสูตร



ว่าด้วยสำเร็จสีหไสยาสน์



[434] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้งเกือบตลอดราตรี
ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหารทรงสำเร็จสีหไสยาสน์
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลี่อมพระบาทด้วยพระบาท ทรงมีพระสติ-
สัมปชัญญะ ทรงทำความหมายในอันจะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย.
[435] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า
ท่านหลับหรือ ท่านหลับเสีย
ทำไมนะ ท่านหลับเป็นตายเทียวหรือนี่
ท่านหลับโดยสำคัญว่า เรือนว่างเปล่า
กระนั้นหรือ เมื่อตะวันโด่งแล้ว ท่านยัง
จะหลับอยู่หรือนี่.

[436] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีตัณหาดุจข่าย
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ สำหรับจะนำ
ไปสู่ภพไหน ๆ ย่อมบรรทมหลับ เพราะ