เมนู

อรรถกถาอรุณวตีสูตร



ในอรุณวตีสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิภูสมฺภวํ ได้แก่ พระอภิภูและพระสัมภวะ. ในท่านทั้ง 2
นั้น พระอภิภูเถระ เป็นผู้เลิศทางปัญญา ดุจพระสารีบุตรเถระ พระสัมภวเถระ
เป็นผู้เลิศทางสมาธิ ดุจพระมหาโมคคัลลานเถระ. บทว่า อุชฺฌายนฺติ ได้แก่
ย่อมดูหมิ่น คือ ย่อมคิดทางต่ำทราม. บทว่า ขียฺยนฺติ ได้แก่ พูดกันว่า
นี่อย่างไรกัน นี่อย่างไรกัน . บทว่า วิปาเจนฺติ ได้แก่ ย่อมพูดยืดยาว คือ
พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ. บทว่า เหฏฺฐิเมน อุปฑฺฒกาเยน ได้แก่ กายเบื้องล่าง
ตั้งแต่สะดือลงไป ในพระบาลีมาเพียงเท่านี้เอง. ฝ่ายพระเถระแสดงการทำฤทธิ์
ต่าง ๆ มากประการที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า ละเพศปกติ เเละเพศนาคบ้าง
แสดงเพศครุฑบ้าง. บทว่า อิมา คาถาโย อภาสิ ความว่า ได้ยินว่า
พระเถระคิดว่า แสดงธรรมอย่างไร จึงจะเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งคนทั้งปวง
แต่นั้นเมื่อรำพึงถึงจึงรู้ว่า เจ้าลัทธิแม้ทั้งปวง เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
จัดสรรเสริญความเพียรของบุรุษในลัทธิของตน ผู้ที่ไม่สรรเสริญ
ความเพียรไม่มี เราจักแสดงให้เกี่ยวด้วยความเพียร การแสดงธรรม
อย่างนี้จักเป็นที่รักที่ชอบใจของคนทุกจำพวก
ได้เลือกเฟ้นในพระไตร-
ปิฎกแล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารพฺภถ ได้แก่ จงเริ่มความเพียร.
บทว่า นิกฺกมถ ได้แก่ จงเพียรก้าวหน้า. บทว่า ยุญฺชถ ได้แก่ จงประกอบ
เพียร คือ จงบากบั่น. บทว่า มจฺจุโน เสนํ ความว่า กองทัพกิเลส ชื่อว่า
กองทัพมฤตยู. บทว่า ชาติสํสารํ ได้แก่ ชาติและสงสาร หรือสงสารกล่าว.