เมนู

อรรถกถาปมาทสูตร



ในปมาทสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปจฺเจกํ ทฺวารพาหํ ความว่า ได้ยืนพิงบานประตูองค์ละบาน
เหมือนคนเฝ้าประตู. บทว่า อิทฺโธ ความว่า พรั่งพร้อมด้วยความสุขใจฌาน.
บทว่า ผีโต ได้แก่ บานสะพรั่งด้วยดอกไม้คืออภิญญา. บทว่า อนธิวาเสนฺโต
ได้แก่ อดกลั้นไม่ได้. บทว่า เอตทโวจ ความว่า นั่งในท่ามกลางพรหม
เนรมิตเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้ว่า ปสฺสสิ เม เป็นต้น
ในคาถาว่า ตโย สุปณฺณา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า
สตะ ในบทว่า ปญฺจสตา พึงประกอบโดยรูปหรือโดยแถว. จะว่าโดยรูป
ก่อน บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ รูปครุฑ 300. บทว่า จตุโร จ
หํสา
ได้แก่รูปหงส์ 400. บทว่า พยคฺฆินิสา ปญฺจสตา ได้แก่ มฤค-
บางเหล่าเช่นกับเสือโคร่ง ชื่อว่า พยัคฆินิสา. รูปมฤคที่เหมือนเสือโคร่ง
เหล่านั้นมีจำนวน 500. ว่าโดยแถว บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ครุฑ
300 แถว. บทว่า จตุโร หํสา ได้แก่หงส์ 400 แถว. บทว่า พยคฺฆินิสา
ปญฺจสตา
ได้แก่มฤคเหมือนเสือโคร่ง 500 แถว. ด้วยบทว่า ฌายิโน
พรหมแสดงว่า ในวิมานของเราผู้ได้ฌานมีความรุ่งโรจน์ขนาดนี้. บทว่า
โอภาสยํ ได้แก่ สว่างไสว. บทว่า อุตฺตรสฺสํ ทิสายํ ความว่า ได้ยินว่า
วิมานทองใหญ่นั้น ปรากฏในทิศอุดร แต่ที่ ๆ มหาพรหมเหล่านั้นสถิตอยู่
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ก็พรหมนั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า เราอยู่ใน
วิมานทองเห็นปานนี้ จักไปสู่ที่บำรุงใครอื่นเล่า. บทว่า รูเป รณํ ทสฺวา

ได้แก่ เห็นโทษกล่าวคือเกิด แก่ และแตกดับในรูปะ บทว่า สทา ปเวธิตํ
ความว่า เห็นรูปที่หวั่นไหวและถูกวิโรธิปัจจัยมีความหนาวเป็นต้น กระทบอยู่
เป็นนิตย์. บทว่า ตสฺมา น รูเป รมตี สุเมโธ ความว่า เห็นโทษในรูป
และเห็นรูปที่หวั่นไหวอยู่ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น พระศาสดาผู้มีเมธาดี คือ
ผู้มีปัญญาดี จึงไม่ยินดีในรูป.
จบอรรถกถาปมาทสูตรที่ 6

7. ปฐมโกกาลิกสูตร



ว่าด้วยพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกษุ



[592] สาวัตถีนิทาน.
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่แล้ว.
ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปใกล้
ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูองค์ละข้าง.
[5293] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกา
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึง
กำหนดวัดซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณอันใคร ๆ
ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุต-
ธรรม เป็นปุถุชน วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพผู้
มีคุณ อันใคร ๆ ประมาณมิได้.


อรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตร



ในปฐมโกกาลิกสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปเมยฺยํ ปมินนฺโต ความว่า กำหนดนับบุคคลผู้เป็น
ขีณาสพ ผู้มีคุณอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ อย่างนี้ว่า ศีลมีประมาณเท่านี้
สมาธิมีประมาณเท่านี้ ปัญญามีประมาณเท่านี้. ด้วยคำว่า โกธ วิทฺวา วิกปฺปเย
ความว่า ใครผู้มีปัญญา ผู้มีเมธาในโลกนี้พึงกำหนด ท่านแสดงว่า พระ-
ชีณาสพเท่านั้น พึงกำหนดนับพระขีณาสพ. บทว่า นิธุตนฺตํ มญฺเญ ความว่า
ก็ผู้ใดเป็นปุถุชน ปรารภจะวัดพระขีณาสพนั้น เรากล่าวผู้นั้นว่า ไม่มีธุตธรรม
คือมีปัญญาต่ำทราม.
จบอรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตรที่ 7