เมนู

อรรถกถาปมาทสูตร



ในปมาทสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปจฺเจกํ ทฺวารพาหํ ความว่า ได้ยืนพิงบานประตูองค์ละบาน
เหมือนคนเฝ้าประตู. บทว่า อิทฺโธ ความว่า พรั่งพร้อมด้วยความสุขใจฌาน.
บทว่า ผีโต ได้แก่ บานสะพรั่งด้วยดอกไม้คืออภิญญา. บทว่า อนธิวาเสนฺโต
ได้แก่ อดกลั้นไม่ได้. บทว่า เอตทโวจ ความว่า นั่งในท่ามกลางพรหม
เนรมิตเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้ว่า ปสฺสสิ เม เป็นต้น
ในคาถาว่า ตโย สุปณฺณา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า
สตะ ในบทว่า ปญฺจสตา พึงประกอบโดยรูปหรือโดยแถว. จะว่าโดยรูป
ก่อน บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ รูปครุฑ 300. บทว่า จตุโร จ
หํสา
ได้แก่รูปหงส์ 400. บทว่า พยคฺฆินิสา ปญฺจสตา ได้แก่ มฤค-
บางเหล่าเช่นกับเสือโคร่ง ชื่อว่า พยัคฆินิสา. รูปมฤคที่เหมือนเสือโคร่ง
เหล่านั้นมีจำนวน 500. ว่าโดยแถว บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ครุฑ
300 แถว. บทว่า จตุโร หํสา ได้แก่หงส์ 400 แถว. บทว่า พยคฺฆินิสา
ปญฺจสตา
ได้แก่มฤคเหมือนเสือโคร่ง 500 แถว. ด้วยบทว่า ฌายิโน
พรหมแสดงว่า ในวิมานของเราผู้ได้ฌานมีความรุ่งโรจน์ขนาดนี้. บทว่า
โอภาสยํ ได้แก่ สว่างไสว. บทว่า อุตฺตรสฺสํ ทิสายํ ความว่า ได้ยินว่า
วิมานทองใหญ่นั้น ปรากฏในทิศอุดร แต่ที่ ๆ มหาพรหมเหล่านั้นสถิตอยู่
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ก็พรหมนั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า เราอยู่ใน
วิมานทองเห็นปานนี้ จักไปสู่ที่บำรุงใครอื่นเล่า. บทว่า รูเป รณํ ทสฺวา