เมนู

แล้วว่า มีความรู้ชอบ มีวัตร ข้อนั้นเป็น
ศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่
ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น.

พกพรหมทูลว่า
พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้า
พระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่น ๆ พระองค์ก็ทรง
ทราบได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์
นี้ จึงยังพรหมโลกให้สว่างไสวตั้งอยู่.


อรรถกถาพกสูตร



ในพกสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ ได้แก่สัสสตทิฏฐิที่ต่ำทราม. บทว่า อิทํ
นิจฺจํ
ความว่า พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหมพร้อมทั้งโอกาสนี้ซึ่งไม่เที่ยงว่า
เที่ยง. บทว่า ธุวํ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า นิจฺจํ นั้นนั่นแหละ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธุวํ ได้แก่มั่นคง. บทว่า สสฺสตํ ได้แก่มีอยู่
ทุกเมื่อ. บทว่า เกวลํ ได้แก่ไม่ขาดสายคือทั้งสิ้น. บทว่า อจวนธมฺมํ ได้
แก่มีความไม่จุติเป็นสภาวะ. ในคำว่า อิทํ หิ น ชายติ เป็นต้น ท่านกล่าว
หมายเอาว่า ในฐานะนี้ ไม่มีผู้เกิด ผู้แก่ ผู้ตาย ผู้จุติหรือผู้อุปบัติไร ๆ บทว่า
อิโต จ ปนญฺญํ ความว่า ชื่อว่าอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจาก
ฐานะแห่งพรหมพร้อมทั้งโอกาสนี้ไม่มี. พกพรหมนั้นเกิดสัสสติทิฏฐิอย่างแรง