เมนู

4. พกสูตร



ว่าด้วยพระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม



[566] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะ
แห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอัน
ยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.
[567] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่ง
ใจของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏ
ในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือ.
คู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น.
พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้น
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จง
เสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้
นิรทุกข์ นานเทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลก
นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่
มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
ก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.
[568] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้
กะพกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าว

ฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของ
ไม่ยั่งยืนเลยว่ายั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อ
กัน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหม
ที่เป็นของความเคลื่อนไหวเป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็น
ธรรมดา และกล่าวฐานะแห่งพรหมอันเป็นที่เกิด แก่ ตาย เป็นที่จุติและ
อุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้.
[569] พกพรหมทูลว่า
ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์
72 คน บังเกิดในพรหมโลกนี้เพราะ
บุญกรรม ยังอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติ
ชราได้แล้ว การอุปบัติในพรหมโลก ซึ่ง
ถึงฝั่งไตรเภทนี้เป็นที่สุดแล้ว ชนมิใช่
น้อยย่อมปรารถนาเป็นดังพวกข้าพระองค์.

[570] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนพกพรหม ท่านสำคัญอายุใด
ว่ายืน ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยืนเลย ดูก่อน
พรหม เรารู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุท1 ของ
ท่านได้ดี.

[571] พกพรหมทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์
ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปกติเห็นไม่มีที่สิ้นสุด

1. นิรัพพุท เป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ 68 สูญ

ล่วงชาติชราและความโศกได้แล้วดังนี้
อะไรเป็นวัตรเก่าแก่ของข้าพระองค์หนอ
ขอพระองค์จงตรัสบอกศีลวัตรซึ่งข้าพระ-
องค์ควรรู้แจ้งชัด.

[572] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
1. ข้อที่ท่านยังมนุษย์เป็นอันมาก
ผู้ซึงระหายน้ำอันแดดแผดเผาแล้ว ใน
ฤดูร้อนให้ได้ดื่มน้ำกิน เป็นศีลวัตรเก่าแก่
ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับ
แล้วตื้นขึ้นฉะนั้น.
2. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประ-
ชุมชน ซึ่งถูกโจรจับพาไปอยู่ที่ฝั่งแม้น้ำ
คงคา เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายัง
ระลึกได้อยู่ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น.
3. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลัง แล้ว
ช่วยปลดเปลื้องเรือซึ่งถูกนาคผู้ร้ายกาจจับ
ไว้ในกระแสะองแม่น้ำคงคา เพราะความ
เอ็นดูในหมู่มนุษย์ ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่า
แก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจ
หลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น.
4. และเราได้เป็นอันเตวาสิกของ
ท่าน นามว่ากัปปมาณพ เราได้เข้าใจท่าน

แล้วว่า มีความรู้ชอบ มีวัตร ข้อนั้นเป็น
ศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่
ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น.

พกพรหมทูลว่า
พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้า
พระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่น ๆ พระองค์ก็ทรง
ทราบได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์
นี้ จึงยังพรหมโลกให้สว่างไสวตั้งอยู่.


อรรถกถาพกสูตร



ในพกสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ ได้แก่สัสสตทิฏฐิที่ต่ำทราม. บทว่า อิทํ
นิจฺจํ
ความว่า พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหมพร้อมทั้งโอกาสนี้ซึ่งไม่เที่ยงว่า
เที่ยง. บทว่า ธุวํ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า นิจฺจํ นั้นนั่นแหละ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธุวํ ได้แก่มั่นคง. บทว่า สสฺสตํ ได้แก่มีอยู่
ทุกเมื่อ. บทว่า เกวลํ ได้แก่ไม่ขาดสายคือทั้งสิ้น. บทว่า อจวนธมฺมํ ได้
แก่มีความไม่จุติเป็นสภาวะ. ในคำว่า อิทํ หิ น ชายติ เป็นต้น ท่านกล่าว
หมายเอาว่า ในฐานะนี้ ไม่มีผู้เกิด ผู้แก่ ผู้ตาย ผู้จุติหรือผู้อุปบัติไร ๆ บทว่า
อิโต จ ปนญฺญํ ความว่า ชื่อว่าอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจาก
ฐานะแห่งพรหมพร้อมทั้งโอกาสนี้ไม่มี. พกพรหมนั้นเกิดสัสสติทิฏฐิอย่างแรง