เมนู

ทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล
ดูก่อนนางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะ
อันข้ามแล้ว ได้ทำบุณอันจะนำความสุข
ต่อไปมาให้แล้ว.


อรรถกถาพรหมเทวสูตร



ในพรหมเทวสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอโก ความว่า เป็นผู้ผู้เดียว คืออยู่คนเดียวในอิริยาบถทั้งหลาย
มียืนเป็นต้น. บทว่า วูปกฏฺโฐ ได้แก่ปลีกตัวไป คือปราศจากการคลุกคลีด้วย
กาย. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ อยู่ในความเป็นผู้ไม่ปราศจากสติ. บทว่า
อาตาปี ได้แก่ ประกอบด้วยความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ปหิตตฺโต
ได้แก่ มีตนส่งไปแล้ว. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตรผู้มีมารยาท. บทว่า
สมฺมเทว ความว่า ไม่ใช่บวชเพราะเป็นหนี ไม่ใช่บวชเพราะมีภัย ไม่ใช่บวช
เลี้ยงชีพ. แม้ผู้ที่บวชไม่ว่าด้วยกรีใด ๆ บำเพ็ญปฏิปทาที่สมควร ก็ชื่อว่า
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบทั้งนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสานํ
ได้แก่อริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ได้แก่
ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ได้แก่ รู้ด้วยตนเอง
คือทำให้ประจักษ์. บทว่า อุปสมฺปชฺช ได้แก่ได้เฉพาะคือสำเร็จผลอยู่แล้ว.
ก็ท่านพระพรหมเทวะอยู่ด้วยประการฉะนี้ ได้รู้ชัดแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงทรงแสดงปัจจเวกขณภูมิของท่าน ด้วยบทนี้.

ถามว่า ก็ชาติไหนของท่านพรหมเทวะนั้นสิ้นแล้ว และท่านพรหมเทวะ
รู้ชัด ข้อนั้นได้อย่างไร. ตอบว่า ชาติส่วนอดีตของท่านพรหมเทวะนั้น ชื่อว่า
สิ้นแล้วไม่ได้ก่อน เพราะสิ้นไปในกาลก่อนเสียแล้ว ชาติส่วนอนาคต ชื่อว่า
สิ้นแล้ว ก็ไม่ได้ เพราะไม่มีความพยายามในชาตินั้น ชาติส่วนปัจจุบันก็ชื่อว่า
สิ้นแล้วไม่ได้เพราะยังมีอยู่. แต่ชาติใดโดยเป็นขันธ์เดียว ขันธ์ 4 และ
ขันธ์ 5 ในบรรดาเอกโวการภพ จตุโวการภพและปัญจโวการภพ พึงเกิดขึ้น
เพราะยังมิได้อบรมมรรค ชาตินั้นชื่อว่าสิ้นแล้ว เพราะถึงความไม่เกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา เพราะอบรมมรรคแล้ว. ท่านพรหมเทวะนั้นพิจารณากิเลสที่ละได้
ด้วยมรรคภาวนา ย่อมรู้ชาตินั้นว่า กรรมแม้มีอยู่ก็ไม่เป็นเหตุให้ปฏิสนธิต่อไป
เพราะไม่มีกิเลส.
บทว่า วุสิตํ ความว่า อยู่แล้ว อยู่รอบแล้ว อธิบายว่า กระทำแล้ว
ประพฤติแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่มรรคพรหมจรรย์.
บทว่า กตํ กรณียํ ความว่า กิจแม้ 16 อย่าง คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ
สัจฉิกิริยากิจและภาวนากิจ ด้วยมรรคทั้ง 4 ในสัจจะ 4 [4 x 4 = 16] ทำ
สำเร็จแล้ว. บทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตาย ความว่า บัดนี้ มรรคภาวนา
เพื่อความเป็นอย่างนี้ คือเพื่อความเป็นกิจ 16 อย่างอย่างนี้ หรือเพื่อความ
สิ้นกิเลส ไม่มีอีก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ได้แก่จากความเป็น
อย่างนี้ คือจากประการอย่างนี้ ท่านพรหมเทวะได้ทราบว่า ขันธสันดาน
อื่นจากธสันดานที่เป็นไปอยู่ในบัดนี้ไม่มี แต่เบญจขันธ์เหล่านี้ ท่านกำหนด
รู้แล้ว ยังตั้งอยู่ได้เหมือนต้นไม้มีรากขาดแล้ว. บทว่า อญฺญตโร แปลว่า
องค์หนึ่ง. บทว่า อรหตํ ความว่า ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดา
พระอรหันต์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า สปทานํ ได้แก่ เที่ยวไปตามลำดับตรอก คือเที่ยวไปตาม
ลำดับไม่เลยเรือนที่ถึงแล้ว. บทว่า อุปสงฺกมิ ได้แก่เข้าไปอยู่. ก็มารดาของ
เขาพอเห็นบุตรก็ออกจากเรือนพาเข้าไปภายในที่อยู่ ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้.
บทว่า อาหุตึ นิจฺจํ ปคฺคณฺหาติ ความว่า รับของบูชาคือบิณฑะ
ก้อนข้าวในกาลเป็นนิจ. ก็ในวันนั้นมีพลีกรรมเพื่อภูตในเรือนนั้น. ทุกเรือนทา
สีเขียวมีข้าวตอกเกลื่อนกลาด. แวดล้อมด้วยทรัพย์และดอกไม้ ยกธงชัยธงปฏาก
ขึ้นตั้งหม้อน้ำมีน้ำเต็มไว้ในที่นั้น ๆ จุดประทีปสว่าง ประดับด้วยผงของหอม
และดอกไม้เป็นต้น. ได้มีแว่นเวียนเทียนถือส่งต่อกันไปโดยรอบ. นางพราหมณี
แม้นั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ อาบน้ำหอม 16 หม้อ ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ
พร้อมสรรพ. สมัยนั้น นางให้พระมหาขีณาสพนั่งแล้ว มิได้ถวายแม้เพียง
ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง คิดว่า เราจักให้มหาขี่พรหมบริโภค บรรจุข้าวปายาสเต็ม
ถาดทอง ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ที่หลังบ้านมีพื้นที่ที่
ประดับด้วยของทาสีเขียวเป็นต้น นางถือถาดนั้นไปที่นั้น วางก้อนข้าวปายาส
ตรงที่ 4 มุมและตรงกลางแห่งละก้อน ถือไปก้อนหนึ่ง มีเนยใสไหลลงถึงข้อศอก
คุกเข่าบนแผ่นดิน กล่าวเชิญพรหมให้บริโภคว่า ขอท่านมหาพรหมจงบริโภค
ขอท่านมหาพรหมจงนำไป ขอมหาพรหมจงอิ่มหนำ ดังนี้.
บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความคิดนี้ได้มีแก่ท้าวสหัมบดีพรหม
ผู้สูดกลิ่นศีลของพระมหาขีณาสพ ซึ่งท่วมเทวโลกฟุ้งไปถึงพรหมโลก. บทว่า
สํเวเชยฺยํ ได้แก่พึงตักเตือน คือพึงให้ประกอบในสัมมาปฏิบัติ. อธิบายว่า
จริงอยู่ นางพราหมณีนั้น ให้พระมหาขีณาสพผู้เป็นอัครทักขิไณยบุคคลเห็น
ปานนี้ นั่งแล้ว มิได้ถวายอาหารแม้เพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง คิดว่า เราจักให้
มหาพรหมบริโภค ดุจทิ้งตาชั่งเสียแล้วใช้มือชั่ง ดุจทิ้งกลองเสียแล้วประโคม
ท้อง ดุจทิ้งไฟเสียแล้วเป่าหิ่งห้อย เที่ยวทำพลีแก่ภูต เราจักไปทำลายมิจฉา-

ทิฏฐิของนาง ยกนางขึ้นจากทางแห่งอบาย จะกระทำโดยวิธีให้นางหว่านทรัพย์
80 โกฏิ ลงในพระพุทธศาสนาแล้วขึ้นสู่ทางสวรรค์.
บทว่า ทูเร อิโต ความว่า ไกลจากที่นี้. จริงอยู่ ก้อนศิลาขนาดเท่า
เรือนยอดตกจากพรหมโลก วันหนึ่งคืนหนึ่งสิ้นระยะทาง 48,000 โยชน์ ใช้
เวลาถึง 4 เดือนโดยทำนองนี้ จึงตกถึงแผ่นดิน พรหมโลกขึ้น ที่ต่ำกว่าเขาหมด
อยู่ไกลอย่างนี้. บทว่า ยสฺสาหุตึ ความว่า โลกของพรหมที่นางพราหมณี
บูชาด้วยก่อนข้าว อยู่ไกล. ในบทว่า พฺรหฺมปถํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ท้าวมหาพรหมกล่าวว่า ชื่อว่า ทางของพรหม ได้แก่กุศลฌาน 4 ส่วน
วิบากฌาน 4 ชื่อว่า เป็นทางชีวิตของพรหมเหล่านั้น เธอไม่รู้ทางของพรหม
นั้น กระซิบอยู่ทำไม เพ้ออยู่ทำไม จริงอยู่ พรหมทั้งหลาย ย่อมยังอัตภาพให้
เป็นไปด้วยฌานที่มีปีติ หาได้ใส่ข้าวสารแห่งข้าวสาลี และเคี้ยวกินน้ำนมที่เคี่ยว
แล้วไม่ ท่านอย่าลำบากเพราะสิ่งที่ไม่ใช่เหตุเลย ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึง
ประคองอัญชลี แล้วย่อตัวเข้าไปชี้พระเถระอีกกล่าวว่า ดูก่อนนางพราหมณี
ก็ท่านพระพรหมเทวะของท่านนี้ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
นิรูปธิโก ความว่า เว้นจากอุปธิ คือกิเลสอภิสังขารและกามคุณ. บทว่า
อติเทวปตฺโต ความว่า ถึงความเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ถึงความเป็นพรหมยิ่ง
กว่าพรหม. บทว่า อนญฺญโปสี ความว่า ชื่อว่าไม่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่
เลี้ยงอัตภาพของผู้อื่นหรือบุตรและภรรยา นอกจากอัตภาพนี้.
บทว่า อาหุเนยฺโย ความว่า ควรเพื่อจะรับบิณฑะที่เขาบูชา ปิณฑะ
ที่เขาค้อนรับ . บทว่า เวทคู ได้แก่ถึงที่สุดทุกข์ด้วยเวทคือมรรค 4. บทว่า
ภาวิตฺตฺโต ได้แก่อบรมตนให้เจริญทั้งอยู่. บทว่า อนูปลิตฺโต ได้แก่อัน
เครื่องฉาบคือตัณหาและทิฐิไม่ฉาบแล้ว. บทว่า ฆาเสสนํ อิริยติ ได้แก่
เที่ยวแสวงหาอาหาร.

บทว่า น ตสฺส ปจฺฉา น ปุรตฺถมตฺถิ ความว่า ภายหลัง
เรียกว่าอดีต ภายหน้า เรียกว่าอนาคต. ท่านกล่าวไว้ว่า ภายหลังหรือภายหน้า
ย่อมไม่มีแก่ผู้เว้นจากฉันทราคะในขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคต ด้วย
ประการฉะนี้. ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สนฺโต
เพราะสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า วิธูมะ เพราะปราศจากควันคือความ
โกรธ. ชื่อว่า อนีฆะ เพราะไม่มีทุกข์. แม้ถือไม้เท้าเป็นต้นเที่ยวไป ก็ชื่อว่า
วางไม้แล้ว เพราะไม่มีเจตนาจะฆ่า. ในคำว่า ตสถาวเรสุ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้
ปุถุชนทั้งหลายชื่อว่าผู้สะดุ้ง พระขีณาสพทั้งหลายชื่อว่าผู้มั่นคง. พระเสขบุคคล
7 จำพวก ไม่อาจจะเรียกว่า ผู้สะดุ้งได้ ท่านเหล่านั้นมิใช่ผู้มั่นคง แต่เมื่อ
จะแบ่งพวก ก็แบ่งเป็นพวกมั่นคงนั่นแหละ. บทว่า โส ตฺยาหุตึ ตัดบท
เป็น โส ตว อาหุตึ.
บทว่า วิเสนิภูโค ความว่า เป็นผู้ปราศจากกองทัพโดยกองทัพคือ
กิเลส. บทว่า อเนโช ได้แก่ปราศจากตัณหา. บทว่า สุสีโล ได้แก่เป็น
ผู้มีศีลดี โดยศีลของพระขีณาสพ. บทว่า สุวิมุตฺตจิตโต ความว่า มีจิต
หลุดพ้นแล้วด้วยดี โดยผลวิมุตติ.
บทว่า โอฆติณฺณํ ได้แก่ข้ามโอฆะ 4 เสียได้ ด้วยกถามรรคเพียง
เท่านี้ พรหมสรรเสริญคุณของพระเถระ ประกอบนางพราหมณีไว้ในสัมมาทิฏฐิ.
ก็อวสานคาถา [คาถาสุดท้าย] พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายตั้งไว้แล้ว บทว่า
ปติฏฺฐเปสิ ทกฺขิณํ ความว่า ดังทักษิณาคือปัจจัย 4. บทว่า สุขมายติกํ
ความว่า มีสุขในอนาคต คือมีสุขเป็นผลในอนาคต อธิบายว่า นำสุขมาให้.
จบอรรถกถาพรหมเทวสูตรที่ 3

4. พกสูตร



ว่าด้วยพระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม



[566] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะ
แห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอัน
ยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.
[567] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่ง
ใจของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏ
ในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือ.
คู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น.
พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้น
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จง
เสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้
นิรทุกข์ นานเทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลก
นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่
มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
ก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.
[568] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้
กะพกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าว