เมนู

อรรถกถาคารวสูตร


ในคารวสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทปาทิ ความว่า ความตรึกนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 5. บทว่า
อคารโว ความว่า เว้นคารวะในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ
ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ. บทว่า อปฺปติสฺโส ความว่า เว้นจากความยำเกรง
คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ ไว้ในฐานะเป็นผู้เจริญที่สุด.
ในบทว่า สเทวเก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า พร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย
ชื่อ สเทวกะ. เมื่อถือเอาพวกมารและพรหมด้วยเทวศัพท์ ก็ในคำนี้ ท้าว
วสวัตดีมารย่อมมีอำนาจเหนือมารและพรหมทั้งหมด ธรรมดาว่าพรหมมี
อานุภาพมาก ใช้นิ้วมือนิ้วหนึ่งแผ่รัศมีไปในหนึ่งจักรวาล ใช้ 2 นิ้วแผ่
รัศมีไป 2 จักรวาล ฯลฯ ใช้ 10 นิ้วแผ่รัศมีไปหมื่นจักรวาล. พรหมผู้มี
อานุภาพมากนั้น อย่าได้กล่าวกันว่ามีศีลดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้นจึง
แยกตรัสว่า สมารเก สพฺรหฺมเก ดังนี้. อนึ่ง ธรรมดาสมณะทั้งหลาย
เป็นพหูสูตโดยรู้นิกายหนึ่งเป็นต้น มีศีลเป็นบัณฑิต แม้พราหมณ์ทั้งหลาย
เป็นพหูสูตโดยรู้วิชาดูพื้นที่เป็นต้น สมณพราหนณ์บัณฑิตเหล่านั้น
อย่าได้กล่าวกันว่าดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สสฺสมณพฺ-
ราหฺมณิยา ปชาย
ดังนี้. ก็คำว่า สเทวมนุสฺสาย นี้ ตรัสรวบเพื่อแสดง
โดยสิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่ง ในคำนี้ 3 บทข้างต้น ตรัสโดยมุ่งโลก. 2 บทหลัง
ตรัสโดยมุ่งหมู่สัตว์. บทว่า สีลสมฺปนฺนตรํ ความว่า สมบูรณ์กว่าคือยิ่งกว่า
โดยศีล. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ธรรม 4 ประการมีศีล

เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ทั้งโลกิยะทั้งโลกุตระ. วิมุตติญาณทัสสนะเป็นโลกิยะ
เท่านั้น และวิมุตติญาณทัสสนะนั้นเป็นปัจจเวกขณญาณ.
บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดานี้
ไม่ทรงเห็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพระองค์โดยศีลเป็นต้น ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม
ทรงดำริว่า เราจักเคารพโลกุตรธรรม 9 ที่เราบรรลุแล้วนี่แหละอาศัยอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดถึงเหตุ ทรงคิดถึงประโยชน์พิเศษ จำเราจักไปทำ
อุตสาหะให้เกิดแก่พระองค์ ดังนี้แล้วได้ปรากฏองค์ต่อหน้า คือยืนในที่เฉพาะ
พระพักตร์. ในบทว่า วิหรึสุ วิหรนฺติ จ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ผู้ใดพึง
กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันก็มีพระพุทธเจ้ามาก โดยพระบาลีว่า วิหรนฺติ ดังนี้
ผู้นั้น พึงถูกคัดค้านด้วยคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้แม้พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พึงแสดงแก่ผู้นั้นว่าพระ-
พุทธเจ้าอื่น ๆ ไม่มี โดยพระบาลีเป็นต้นว่า
เราไม่มีอาจารย์ คนเสมือนเราไม่มี
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีคนทัดเทียม
เรา ดังนี้.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นผู้
เคารพพระสัทธรรม. บทว่า มหตฺตมภิกงฺขตา ได้แก่ปรารถนาความเป็น
ใหญ่. บทว่า สรํ พุทฺธานสาสนํ ได้แก่ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย.
จบอรรถกถาคารวสูตรที่ 2

3. พรหมเทวสูตร



ว่าด้วยพระพรหมเทวะโปรดมารดา



[563] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็สมัยนั้นแล บุตรแห่งนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทวะ ออก
บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะเป็นผู้
เดียว หลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ ไม่
นานเท่าไร ก็ได้กระทำให้แจ้งประโยชน์ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์อันนั้น อย่างยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหม-
จรรย์ เพราะรู้แจ้งชัดเองในปรัตยุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ท่านได้ทราบว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ก็แหละท่านพรหมเทวะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์แล้ว.
[564] ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะ ในเวลารุ่งเช้านุ่งห่มแล้ว
ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ท่านเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี
ตามลำดับตรอก เข้าไปยังนิเวศน์แห่งมารดาของตนแล้ว .
ก็สมัยนั้นแล นางพราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะถือการ
บูชาบิณฑะแก่พรหมเป็นนิตย์.
ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า นางพราหมณีผู้มารดาของท่าน
พระพรหมเทวะนี้แล ถือการบูชาบิณฑะแก่พรหมเป็นนิตย์ ไฉนหนอ เรา
พึงเข้าไปหานางแล้วทำให้สลดใจ.