เมนู

2. คารวสูตร



ว่าด้วยทรงเคารพธรรม



[559] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ
แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลาประเทศ.
ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
เสด็จเข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ. เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์ใครผู้ใด
อยู่หนอ.
[560] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริว่า เราควรสัก-
การะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์
ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีล
ยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึง
พร้อมด้วยสมาธิยิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ซึ่งเราควรสักการะเคารพ
แล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อ
ความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยปัญญายิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควร

สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้ว
อาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็น
สมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติยิ่งกว่าตน ในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะ
หรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่
ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติญาณทัสสนะ ยิ่งกว่าตน ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพ
แล้วอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นแหละ แล้ว
อาศัยอยู่.
[561] ลำดับนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัย
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจ ก็อันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฏ
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดออกซึ่งแขน
ที่คู้อยู่หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนเหยียดอยู่ ฉะนั้น.
ครั้นแล้ว สหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม-
อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีมาแล้วตลอดกาล
อันล่วงแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็ทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเอง
แล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจัก
มีตลอดกาลไกลอันยังไม่มาถึง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงสักการะ
เคารพธรรมนั่งเองแล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ขอจงทรงสักการะเคารพธรรมนั่นแหละ
แล้วอาศัยอยู่.
[562] สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคม
คาถาอีก
พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่
ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่า
ใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้า
พระองค์ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชน
เป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี พระพุทธเจ้า
เหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัท-
ธรรมอยู่แล้ว ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อ
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตนหวัง
ความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัท-
ธรรม.

อรรถกถาคารวสูตร


ในคารวสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทปาทิ ความว่า ความตรึกนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 5. บทว่า
อคารโว ความว่า เว้นคารวะในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ
ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ. บทว่า อปฺปติสฺโส ความว่า เว้นจากความยำเกรง
คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ ไว้ในฐานะเป็นผู้เจริญที่สุด.
ในบทว่า สเทวเก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า พร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย
ชื่อ สเทวกะ. เมื่อถือเอาพวกมารและพรหมด้วยเทวศัพท์ ก็ในคำนี้ ท้าว
วสวัตดีมารย่อมมีอำนาจเหนือมารและพรหมทั้งหมด ธรรมดาว่าพรหมมี
อานุภาพมาก ใช้นิ้วมือนิ้วหนึ่งแผ่รัศมีไปในหนึ่งจักรวาล ใช้ 2 นิ้วแผ่
รัศมีไป 2 จักรวาล ฯลฯ ใช้ 10 นิ้วแผ่รัศมีไปหมื่นจักรวาล. พรหมผู้มี
อานุภาพมากนั้น อย่าได้กล่าวกันว่ามีศีลดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้นจึง
แยกตรัสว่า สมารเก สพฺรหฺมเก ดังนี้. อนึ่ง ธรรมดาสมณะทั้งหลาย
เป็นพหูสูตโดยรู้นิกายหนึ่งเป็นต้น มีศีลเป็นบัณฑิต แม้พราหมณ์ทั้งหลาย
เป็นพหูสูตโดยรู้วิชาดูพื้นที่เป็นต้น สมณพราหนณ์บัณฑิตเหล่านั้น
อย่าได้กล่าวกันว่าดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สสฺสมณพฺ-
ราหฺมณิยา ปชาย
ดังนี้. ก็คำว่า สเทวมนุสฺสาย นี้ ตรัสรวบเพื่อแสดง
โดยสิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่ง ในคำนี้ 3 บทข้างต้น ตรัสโดยมุ่งโลก. 2 บทหลัง
ตรัสโดยมุ่งหมู่สัตว์. บทว่า สีลสมฺปนฺนตรํ ความว่า สมบูรณ์กว่าคือยิ่งกว่า
โดยศีล. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ธรรม 4 ประการมีศีล