เมนู

อรรถกถาวชิราสูตร



ในวชิราสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นยิธ สตฺตุปลพฺภติ ความว่า ในกองสังขารล้วนนี้ ว่าโดย
ปรมัตถ์ จะได้แก่สัตว์ก็หาไม่. บทว่า ขนฺเธสุ สนฺเตสุ ความว่า เมื่อ
ขันธ์ 5 ยังมีอยู่ ท่านกำหนดเอาด้วยอาการนั้น ๆ. บท สมฺมติ คือเป็นเพียง
สมัญญาว่าสัตว์เท่านั้น. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์คือ ขันธ์ 5. บทว่า
นาญฺญตฺร ทุกฺขา ความว่า นอกจากทุกข์ สภาวะอย่างอื่นไม่มีเกิดไม่มีดับ.
จบอรรถกถาวชิราสูตรที่ 10
จบภิกขุนีสังยุตเพียงเท่านี้


รวมพระสูตรในภิกขุนีสังยุตนี้มี 10 สูตร คือ



1. อาฬวิกาสูตร 2. โสมาสูตร 3. โคตมีสูตร 4. วิชยาสูตร
5. อุบลวรรณาสูตร 6. จาลาสูตร 7. อุปจาลาสูตร 8. สีสุปจาลาสูตร
9. เสลาสูตร 10. วชิราสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พรหมสังยุต



ปฐมวรรคที่ 1



1. อายาจนสูตร



พรหมอาราธนาให้แสดงธรรม



[555] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาล-
นิโครธ แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลาประเทศ.
ครั้งนั้น ความปริวิ กแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าที่สลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาคคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบาน
แล้วในอาลัย ก็ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็น
ธรรมอาศัยกันและกันเกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย
เบิกบานแล้วในอาลัย จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรม
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้น
ตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม
แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความลำบากของเรา.