เมนู

เทวดาฟังพระดำรัสแล้วชื่นชมอนุโมทนาว่า
ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี ดีจริง
รังของท่านไม่มี ดีจริง เครื่องสืบต่อของ
ท่านไม่มี ดีจริง ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจาก
เครื่องผูก...


อรรถกถากุฏิกาสูตร



วินิจฉัยในกุฏิกาสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า กจฺจิ เต กุฏิกา เป็นต้น อธิบายว่า เทวดานี้ประมวลปัญหา
เหล่านี้มาผูกเป็นคาถาโดยกระทำมารดาให้เป็นดังกระท่อม เพราะหมายเอาการ
อยู่ในท้อง 10 เดือน กระทำภรรยาให้เป็นดังรัง (รังนก) ด้วยอำนาจแห่งความ
อาลัย เหมือนพวกนกเที่ยวหาอาหารตลอดวันแล้วก็มาเกาะอยู่ในรังในเวลาราตรี
ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไปในที่นั้น ๆ แล้วก็ย่อมมา
สู่สำนักแห่งมาตุคาม กระทำบุตรทั้งหลายให้เป็นดังเครื่องสืบต่อ เพราะหมาย
เอาการสืบต่อตระกูลและประเพณี แล้วจึงทูลถามกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดานั้น จึงตรัสคำว่า ตคฺฆ
เป็นต้น แปลว่า แน่ละ กระท่อมของเราไม่มี แน่ละ รังของเราไม่มี แน่ละ
เครื่องสืบต่อของเราไม่มี แน่ละ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ในคำโดยส่วนเดียว.
บทว่า นตฺถิ ได้แก่ ละได้แล้ว เพราะความที่เราเป็นบรรพชิต อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ไม่มี เพราะไม่มีการอยู่ในท้องของมารดาในวัฏฏะอีก ไม่มีการเลี้ยงดู