เมนู

อรรถกถานันทนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 1 แห่ง นันทนวรรคต่อไป:-
บทว่า ตตฺร แปลว่า ในพระอารามนั้น . ศัพท์ว่า โข สักว่าเป็น
นิบาตอันสามารถทำพยัญชนะให้สละสลวย. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ได้แก่
ย่อมให้ภิกษุทั้งหลายซึ่งเป็นบริษัทผู้เลิศทราบ. บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดง
ถึงอาการที่เรียกภิกษุเหล่านั้นมา. บทว่า ภทนฺเต เป็นคำทูลรับพระดำรัส.
บทว่า เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้มีหน้าเฉพาะซึ่งจะรับพระธรรม-
เทศนา คือ ภิกษุเหล่านั้น. บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ ความว่า ภิกษุ
เหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นผู้มีหน้าเฉพาะ คือ ฟัง
แล้วทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เอตทโวจ ความว่า
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำเป็นอาทิว่า เรื่องนี้ได้เคยมีมาแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาวตึสกายิกา ได้แก่ เกิดในหมู่ของ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ท่านเรียกเทวโลกชั้นที่สองว่า ตาวติงสกายะ (แปลว่ามีพวก
33 หรือหมู่นรเทพ 33)
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ได้ยินว่า บัญญัติชื่อว่า ตาวติงสกายะ นี้
เกิดขึ้นในเทวโลกนั้น เพราะอาศัยเทวบุตร 33 องค์ อุบัติขึ้นในที่นั้น เพราะ
ทำกาละของชน 33 กับมฆมาณพในบ้านอจลคาม ดังนี้. ก็เพราะเทวโลก-
กามาวจร 6 ชั้น มีอยู่แม้ในจักรวาลที่เหลือ ตามที่ได้ตรัสไว้ว่า มีท้าวจาตุม-
มหาราชาหนึ่งพันองค์ มีพิภพดาวดึงส์หนึ่งพัน ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น พึงทราบ
นามบัญญัตินี้ของเทวโลกนั้น ดังนี้. จริงอยู่ โดยเหตุนี้นั้น บทว่า ตาวตึสกาย
จึงไม่ผิดไป.