เมนู

อรรถกถามานกามสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า มานกามสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ใคร่อยู่ คือปรารถนาอยู่ซึ่ง
มานะ. บทว่า ทโม อธิบายว่า เทวดาย่อมกล่าวว่า ทมะอันเป็นไปในฝ่ายสมาธิ
ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เห็นปานนี้. ก็ในบทว่า สจฺเจน ทนฺโต ทมสา อุเปโต
เวทนฺตคู วิสิตพฺรหฺมจริโย
แปลว่า บุคคลผู้ฝึกฝนแล้วด้วยสัจจะผู้เข้าถึง
แล้วด้วยทมะ ผู้ถึงที่สุดแห่งเวท ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ดังนี้ ท่านเรียกอินทรีย์
ว่า ทมะ. ในบทว่า ยทิ สจฺจา ทมา จาคา ขนฺตยา ภิยฺโยธ วิชฺชติ
แปลว่า ผิว่า จะมีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ ในโลกนี้
ดังนี้ ท่านเรียกปัญญา ว่า ทมะ. ในคำนี้ว่า ทาเนน ทเมน สํยเมน
สจฺจวาเทน อตฺถิ ปุญฺญํ อตฺถิ ปุญฺญสฺส อาคโม
แปลว่า บุญมีอยู่
การมาถึงแห่งบุญย่อมมี ด้วยทาน ด้วยทมะ. ด้วยสังยมะ ด้วยสัจจวาจา ดังนี้
ท่านเรียก อุโบสถกรรม ว่า ทมะ.
ในคำว่า สกฺขิสฺสสิ โข ตฺวํ ปุณฺณ อิมินา ทมูปสเมน
สมนฺนาคโต สุนาปรนฺตสฺมึ ชนปเท วิหริตุํ
แปลว่า ดูก่อนปุณณะ
เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความอดทนด้วยความสงบนี้แล้ว จักอาจเพื่อ อยู่ใน
ชนบทสุนาปรันตะดังนี้ ท่านเรียก อธิวาสนขันติ ว่า ทมะ
แต่คำว่า ทมะ ในพระสูตรนี้ เป็นชื่อของธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิ
เพราะเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า น โมนมตฺถิ อสมาหิตสฺส แปลว่า
ความรู้ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น. ในบทเหล่านั้น บทว่า โมนํ ได้แก่