เมนู

อรรถกถากติฉินทิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า กติ ฉินฺเท ได้แก่ บุคคลเมื่อตัดควรตัดเท่าไร. แม้ในบท
ที่เหลือก็นัยนี้. ก็ในบทว่า ฉินฺเท ชเห นี้ว่าโดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน.
เทวดานี้เมื่อเว้นถ้อยคำที่ซ้ำ ๆ ก็เพื่อเป็นประโยชน์แก่การประพันธ์คาถา จึง
ได้กล่าวแล้วอย่างนี้. บทว่า กติ สงฺคาติโต แปลว่า ภิกษุก้าวล่วงธรรม
อันเป็นเครื่องข้องเท่าไร. พระบาลีว่า สงฺคาติโต บ้าง. มีเนื้อความอย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า ปญฺจ ฉินฺเท ได้แก่ เมื่อตัดควรตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์
5 อย่าง. บทว่า ปญฺจ ชเห ได้แก่ เมื่อละควรละอุทธัมภาคิยสังโยชน์
5 อย่าง การตัดและการละแม้ในที่นี้ เมื่อว่าโดยอรรถก็เป็นอย่างเดียวกัน
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ก็เพราะให้เหมาะสมกับถ้อยคำอันเทวดา
อ้างมา.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์
5 เป็นเครื่องฉุดคร่า ให้ตกไปในเบื้องต่ำ เหมือนกับก้อนหินที่เขาผูกเท้าไว้
จะพึงตัดสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอนาคามิมรรค ดังนี้ และตรัสว่า อุทธัมภาคิย
สังโยชน์ 5 ซึ่งฉุดคร่าไว้เบื้องบน เหมือนกับกิ่งไม้ที่บุคคลใช้มือจับไว้
จะพึงละสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอรหัตมรรค ดังนี้. บทว่า ปญฺจ จุตฺตริ-
ภาวเย
ความว่า เมื่อเจริญคุณวิเศษให้ยิ่ง คือให้มากกว่า เพื่อต้องการตัด
และเพื่อต้องการละสังโยชน์เหล่านั้น ควรเจริญอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นที่ 5.